Stamp Fairtex หญิงแกร่งผู้มีดีกรีที่ไม่ธรรมดา ขวัญใจของคนทั่วโลก
Stamp Fairtex ตอนนี้สำหรับใครที่ติดตาม ONE Championship ต้องยอมรับเลยว่า “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” คือสาวเนื้อหอม ที่กำลังมาแรงแห่งวงการมวยหญิงระดับโลกไปเป็นที่เรียบร้อย หลังจากคว้าแชมป์มาได้ 2 เส้นด้วยกัน โดยได้คว้าแชมป์โลก ONE มวยไทย รุ่นอะตอมเวต และ ชิงแชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่ง รุ่นอะตอมเวต
ในฐานะนักกีฬาหญิงไทยคนแรกและคนเดียวที่เป็นแชมป์โลก ONE ควบสองประเภทกีฬาการต่อสู้ ทั้งคิกบ็อกซิ่งและมวยไทย นับว่าเธอเป็นนักมวยหญิงคนไทยคนแรกผู้เป็นขวัญใจของชาวไทย นอกจากนี้ WBC Muaythai ยังจัดอันดับให้เธอรั้งอันดับ 2 รุ่น Super Flyweight ของโลก ณ เมษายน 2020
และอยู่ในอันดับที่ 2 ในการจัดอันดับของ ONE Championship Women’s Atomweight และ ONE Championship Women’s Atomweight มวยไทย เธอยังเป็นอันดับ 1 ในการจัดอันดับคิกบ็อกซิ่งรุ่นอะตอมเวตหญิงของ ONE Championship อีกด้วย
พูดได้ว่า แสตมป์ คือนักมวยหญิงคนแรกจากค่าย แฟร์เท็กซ์ ที่สามารถคว้าชัยกลับค่ายมาได้ พอจะได้รู้โปรไฟล์ของ สแตมป์ กันมาคร่าว ๆ แล้ว หลาย ๆ คนคงอยากรู้ประวัติของ ดอกไม้เหล็ก แห่งวงการมวยคนนี้ รวมทั้งอยากรู้จักกับเธอมากขึ้น ซึ่งในวันนี้เราก็ได้นำ ประวัติของ แสตมป์ มาฝากทุก ๆ คนด้วย
ประวัติ สแตมป์ แฟร์เท็กซ์ และการเริ่มต้นเส้นทางนักสู้
แสตมป์ เล่าว่าตัวเองนั้นผูกพันกับมวยไทยตั้งแต่เด็ก โดยมีพ่อเป็นอดีตนักมวยชื่อ “วิสันต์เล็ก ลูกบางปลาสร้อย” ผู้เป็นครูมวยคนแรกให้เธอ ตั้งแต่วัยเพียง 5 ขวบ ด้วยแรงกดดันจากการถูกกลั่นแกล้งภายในโรงเรียนสมัยอยู่ชั้นอนุบาล 3 เป็นจุดเริ่มต้นให้แสตมป์สนใจฝึกมวยไทยตามรอยพ่อและพี่ชายลูกพี่ลูกน้อง เพื่อใช้ป้องกันตัว
อีกหนึ่งปีต่อมา เธอก็ชนะการต่อสู้ครั้งแรกโดย KO คู่ต่อสู้ด้วยการใช้เข่า และกลายเป็นแชมป์มวยไทยของสนามกีฬาท้องถิ่น และยังเป็นแชมป์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสองภาคของประเทศไทย จนมีชื่อเสียงอีกด้วย
ต้องบอกว่า ครอบครัวของแสตมป์เป็นครอบครัวที่มีพื้นฐานมวยไทย ทั้งลุง พ่อ พี่ชายลูกพี่ลูกน้อง รวมถึงน้องชายวัย 11 ปีของเธอ “โชกุน” ก็กำลังเจริญรอยตามพี่สาวเหมือนกัน
แสตมป์ได้รับฉายาว่า “นักมวยปากแดง” ตามที่เธอเขียนไว้บนหน้าโปรไฟล์เฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งมีที่มาจากสมัยเด็ก ๆ ที่คุณแม่มักทาลิปสติกสีแดงให้เธอก่อนขึ้นชกทุกไฟต์ จนกลายเป็นความเคยชินถึงทุกวันนี้ เธอบอกว่า “ปากไม่แดง ไม่มีแรงชก”
เมื่ออายุ 18 ปี เธอย้ายไปที่แฟร์เท็กซ์ยิมในพัทยา ซึ่งเธอเริ่มฝึกยิวยิตสูบราซิลที่นี่ด้วย แสตมป์ ยังเล่าอีกว่าเธอมาที่ค่ายนี้ครั้งแรกก็อยู่ค่ายเลย ไม่มีการกลับไปนอนคิดอะไรทั้งนั้น แถมยังเล่าอีกว่า การเป็นผู้หญิงคนเดียวในค่ายมวย ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาอะไร เพราะตอนเด็ก ๆ สมัยเรียนเธอมักจะเล่นอยู่กับเด็กผู้ชาย และมีเพื่อนเป็นกลุ่มเด็กผู้ชายทั้งนั้น สิ่งที่เธอต้องทำในการอยู่ในค่ายมวยมีเพียงแค่การฝึกซ้อมและการวางตัวกับรุ่นพี่นักมวยคนอื่น ๆ ในค่าย
แสตมป์ย้ายมาฝึกที่ค่าย แฟร์เท็กซ์ ด้วยความคาดหวังในการฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักมวยหญิง MMA ด้วยความที่ศิลปะการต่อสู้ในรูปแบบนี้ของผู้หญิงในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีมาก หรือยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายนัก การได้มาฝึกซ้อมที่ค่ายแฟร์เท็กซ์ ในสายการต่อสู้นี้ จะสามารถนำไปต่อยอดได้ไกล โดยสแตมป์มีวิชามวยไทยติดตัวมาแล้ว เพียงแต่ต้องมีการฝึกฝนพวกท่า Submission ต่าง ๆ
เส้นทางการขึ้นสังเวียน แบบมืออาชีพ ของ Stamp Fairtex
ไฟต์แรกของ สแตมป์ ในฐานะนักมวยของค่ายแฟร์เท็กซ์ คือการแข่งขันมวยที่ถูกจัดขึ้นที่สนามม้านางเลิ้ง ของมหากรรมมวยหญิง ซึ่งเธอก็สามารถคว้าชัยมาได้สำเร็จ สแตมป์มีสไตล์การต่อสู้ แบบเป็นมวยเข่า ที่จะมีการกอด การปล้ำ คลุกวงใน แถมยังเป็นนักมวยหญิงที่ขยันฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เธอจึงสามารถนำวิชามวยไทยมาต่อยอดในสาย MMA ที่จะมีการปล้ำได้ไม่ยากเกินความสามารถของเธอ
เทรนเนอร์ในค่ายแฟร์เท็กซ์ เล่าว่า แสตมป์ เป็นนักมวยหญิงแกร่งที่มีความอดทนมาก เธอสามารถรับความรุนแรงความเจ็บปวดได้ ซึ่งแตกต่างกับผู้หญิงทั่วไป ที่ไม่ค่อยจะนิยมกีฬาชกมวย หรือเล่นกีฬาที่จะต้องมีการเจ็บเนื้อเจ็บตัว
แม้ว่าในสมัยก่อนคนทั่วไปจะมองว่าผู้หญิงไม่เหมาะสำหรับการเล่นกีฬาแบบมวย แต่ในปัจจุบันนี้ก็เริ่มมีนักมวยหญิงมากขึ้นเข้ามา ก็เป็นผลมาจากการที่เขาได้เห็นไฟต์การต่อสู้ของสแตมป์ แล้วเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนอยากที่จะเล่นกีฬามวย หรืออยากที่จะเป็นแชมป์มวยหญิงแบบสแตมป์บ้าง
หลังจากโดนแมวมองอย่าง ริช แฟรงคลิน พาเข้า ONE Championship แสตมป์ก็เปิดตัว แข่งขันในศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน ใน ONE Warrior Series 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2018 เธอเอาชนะน็อค ราชิ ชินเดะ ด้วยการเตะหัวในเวลาเพียง 19 วินาทีของยกแรก ชัยชนะนั้นทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับ ONE Championship
แสตมป์ ในฐานะนักมวยหญิงชาวไทย กับ ONE Championship
แสตมป์ประกาศความตั้งใจที่จะแข่งขันศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานใน ONE Championship โดยมีเป้าหมายในการเป็น ONE World Champion ใน MMA เช่นกัน เธอเปิดตัว MMA เพื่อโปรโมต MMA ของ ONE Championship กับ Asha Roka ที่ ONE Championship: Dreams of Gold เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2019 แสตมป์ชนะโดยการซับมิชชันในนาทีที่ 1:29 ของยกที่ 3 จากการเค้นคอด้านหลัง
ต่อไปเธอก็คาดว่าจะพบกับ Bi Nguyen ที่ ONE Championship: Masters of Fate ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2019 หลังจากครองทั้งสามยกด้วยการชกมวยไทยของเธอ เธอชนะต่อไปด้วยคะแนนเอกฉันท์
ต่อมา แสตมป์เผชิญหน้า Puja Tomar ที่ ONE Championship: A New Tomorrow ในวันที่ 10 มกราคม 2020 แสตมป์เอาชนะ Tomar โดย TKO เมื่อเวลา 4:27 น. ของยกแรกโดยทางพื้นและปอนด์ ในการต่อสู้กับ Tomar นั้น Stamp ได้แสดงความสนใจในการเผชิญหน้ากับ Mei Yamaguchi ซึ่งเธอกล่าวว่ามีทักษะมวยปล้ำระดับสูง เพื่อทดสอบระดับทักษะของเธอเอง เธอหวังว่าการต่อสู้กับยามากูจิจะช่วยให้ทักษะ MMA ทุกด้านของเธอแข็งแกร่งขึ้น ก่อนที่เธอจะมีโอกาสท้าชิงแชมป์โลก ONE
วันที่ 31 กรกฎาคม 2020 แสตมป์ได้เผชิญหน้า สุนิสา ศรีเสน ใน ONE Championship: No Surrender วันที่ 31 กรกฎาคม 2020 เธอทำสถิติที่ชนะเป็นห้าด้วย TKO รอบแรกของ Srisen
จากนั้นเธอก็พบกับ Alyona Rassohyna ในการแข่งขัน ONE Championship: Unbreakable 3 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2021 แม้จะครองส่วนใหญ่ของการต่อสู้ แสตมป์แพ้โดยการยอมจำนนผ่านความพยายามครั้งสุดท้าย ทำให้เธอแพ้ครั้งแรกในการแข่งขัน MMA ในขณะที่มีการโต้เถียงกันรอบ ๆ การต่อสู้ในขั้นต้น โดยที่แสตมป์เถียงว่าเธอไม่ได้แตะ สื่อต่างเห็นพ้องกันว่าเธอจะแตะออก
การขึ้นชกในแต่ครั้งและการได้พบเจอกับคู่ต่อสู้ชาวต่างชาติ หลาย ๆ คน ที่แต่ละคนก็มีความเก่งกาจทั้งนั้นในน้ำหนักรุ่นเดียวกับ แสตมป์ ก็ยังมีคนเก่งอีกมาก เธอเล่าว่า การได้เจอคู่ต่อสู้ทำให้เธอมีสปิริตส์ ที่จะอัพเกรดศักยภาพของตัวเองให้ดีขึ้นไปอีก เพื่อที่จะชิงเข็มขัดมาให้ได้ จะต้องฝึกฝนและเก็บเกี่ยวประสบการณ์อีกมาก
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : UFABET , ดูบอล123
อ่านเพิ่มเติม => ประวัติ พระจันทร์ฉาย