สนามมวยสวนกุหลาบ จุดกำเนิดเบื้องลึกในรั้วกีฬาทหาร สู่กิจการกองทัพบก

อย่างที่รู้กันว่า “มวยไทย” เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีมาแต่ตั้งแต่โบราณ และในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีแข่งกันแพร่หลาย และเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่หากย้อนกลับไปในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จะเห็นว่าสภาพเวทีมวยเวลานั้น ยังไม่ปรากฏการแข่งขันประจำเหมือนเช่นปัจจุบัน ทว่าเวลาผ่านไป กรุงเทพมหานคร จึงเริ่มมีสนามมวยเกิดขึ้น อาทิ สนามมวยสวนกุหลาบ มาจนถึง สนามมวยเวทีราชดำเนิน ก่อนเกิดสนามมวยแห่งที่สองในกรุงเทพ นั่นคือ สนามมวยเวทีลุมพินี

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้รู้ในการมวย เล่ากันต่อมาว่า การแข่งขันในสมัยนั้น ไม่ได้เป็นระบบแพร่หลายดังปัจจุบัน จะถูกจัดในงานนักขัตฤกษ์ประจำปีเป็นครั้งคราวเท่านั้นที่ผู้เชี่ยวชาญเชิงมวยจะได้โชว์ฝีมือ และมวยก็ยังไม่ได้เป็นอาชีพ

จนกระทั่งในสมัย รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสนามมวยภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดให้มีการชกทุกวันเสาร์ ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากนั้นจึงเริ่มมีสนามมวยเกิดขึ้นตามลำดับ เรื่องราวเกี่ยวกับสนามมวยสวนกุหลาบนี้ ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย

ทำไม “สวนกุหลาบฯ” ร.ร.ชายล้วนตั้งชื่อเป็นดอกไม้? แล้วยังเคยปลูกดอกไม้อื่นแทน

สำหรับในที่นี้คงต้องกล่าวถึง สนามมวยเวทีลุมพินี โดยภายหลังจากปรากฏสนามมวยสวนกุหลาบแล้ว ก็เกิดสนามมวยขึ้นอีกหลายแห่ง แต่ต้องบอกว่า ไม่ถาวรเสมอไป มีการดำเนินไปได้ไม่นาน ก็ต้องมีเลิกกันไปด้วยหลากหลายเหตุผล มีเพียงสนามมวยเวทีราชดำเนินในกรุงเทพเท่านั้น ที่ยังเปิดถาวรมาจนถึงปัจจุบัน โดยเปิดตั้งแต่ พ.ศ. 2488

ในยุคนั้น สนามมวยในกรุงเทพฯ ที่เปิดต่อเนื่อง มีเพียงแห่งเดียวคือ เวทีราชดำเนิน ช่วง 10 ปีแรกของสนามมวยเวทีราชดำเนิน มีการจัดแข่งเฉพาะวันอาทิตย์ แต่ก็ยังไม่พอต่อจำนวนนักมวยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เวลาต่อมาจึงเพิ่มแข่งวันพฤหัสบดีอีกวันแต่ก็ไม่เพียงพอ

สนามมวยเวทีราชดำเนินที่นับว่าเป็นสนามมวยมาตรฐานแห่งเดียวในกรุงเทพฯ ไม่เพียงต้องจัดรายการแข่งปกติ เท่านั้นยังให้ทหารเช่าสถานที่ จัดมวยการกุศล และชิงแชมป์ ทบ. เป็นครั้งคราว ยิ่งตอกย้ำปัญหาสนามมวยไม่เพียงพอ ต่อการจัดรายการ และจำนวนนักมวย ดังที่กล่าวข้างต้น

เมื่อกล่าวถึงกองทัพ นายเทียมบุญ อินทรบุตร ได้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับเรื่องมวยกับกองทัพ ไว้ในนิตยสารไฟเตอร์ ฉบับ มี.ค.-เม.ย. พ.ศ. 2532 ว่า ในช่วง พ.ศ. 2494 กองทัพเริ่มมีนโยบายให้กำลังพลสนใจกีฬามากขึ้น กีฬามวมที่มีลักษณะเป็นกีฬาอาชีพมากขึ้น ก็ได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ ปรากฏคำแนะนำให้หน่วยต่าง ๆ จัดคณะมวย จัดแข่งภายในกรมกองเพื่อคัดเลือกตัวแทนมาแข่งชิงแชมป์มวยทหารประจำปี โดยถือเป็นภารกิจของกรมสวัสดิการทั้ง 3 เหล่าทัพในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย

พ.ศ. 2494 ช่วงเวลานั้น พลตรี ประภาส จารุเสถียร (ยศขณะนั้น) ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับราชการทหาร ผู้ที่เป็นนักกีฬาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ สำหรับนักมวยจะถูกส่งตัวไปหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรับการฝึกทหารและฟิตซ้อม หรือรับการคัดเลือกเป็นตัวแทนชิงแชมป์ ทบ. ประจำปีต่อไป นักมวยยุคนั้นจึงมักปรากฏชื่อที่เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยทหาร เช่น ศรราม, ลูกอัศดร, ลูกมาตุลี

เมื่อมาถึง พ.ศ. 2498 พันตรี เอิบ แสงฤทธิ์ (ยศขณะนั้น) นายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ผู้เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการสนองนโยบายด้านกีฬาของผบ.พล 1 รอ. ได้รับคำสั่งให้จัดมวยการกุศลนำเงินบำรุงนักกีฬา เมื่อเห็นว่าเวลานั้นมีเวทีฮอลิเดย์ ออน ไอซ์ ซึ่งเป็นเวทีการแสดงของคณะกายกรรมฮอลิเดย์ ออน ไอซ์ จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาเปิดการแสดงครั้งแรก ในห้วงงานฉลองรัฐธรรมนูญประจำปี 2498 (ปีนั้นรัฐบาลสั่งงดประกวดนางสาวไทย) และได้ขอเช่าสถานที่จัดสร้างเวทีตรงหลังพระรูป ร.6 แต่การแสดงไม่ค่อยได้รับความนิยม ผู้จัดขาดทุนจนทำให้ต้องเลิกการแสดงไปก่อน เวทีถูกปล่อยว่าง จึงสามารถปรับเป็นสนามมวยชั่วคราว แล้วจัดมวยการกุศลน่าจะเหมาะสม เพราะไม่ต้องลงทุนมาก

เมื่อเดินเรื่องกับฝ่ายเทศบาลนครกรุงเทพฯ แล้วไม่ติดขัด จึงเริ่มมีการปรับอัฒจันทร์ ตั้งเวทีชก และคณะกรรมการชุดแรก โดยมีพันตรีเอิบ แสงฤทธิ์ เป็นประธานคณะกรรมการและนายสนาม

เวทีลุมพินี (ชั่วคราว) หลังพระรูป ร. 6 มีการจัดแข่งมวยทุกวันเสาร์ เปิดแข่งขันรายการแรกวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2499 หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2499 รายงานว่า มีผู้ติดตามไปชมเป็นจำนวนมาก

สนามมวยเวทีลุมพินีเป็นที่รู้จักและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแฟนมวย

รายงานจากหนังสือ “42 ปี สนามมวยเวทีลุมพินี” มีเนื้อหาส่วนหนึ่งอ้างอิงจากรายงานของหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย มีข้อความปรากฏว่า “โดยเหตุที่ในสมัยนั้นมีกฎกระทรวงมหาดไทยที่ระบุว่า การขออนุญาตจัดมวยจะต้องตีตั๋วการ พนันมวย แต่เสียภาษีประเภทมหรสพคือ 15 เปอร์เซ็นต์ ภาษีเทศบาลอีก 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าจัดเป็นรายการกุศล หาเงินบำรุงหน่วยงานราชการก็สามารถทำเรื่องยกเว้นภาษีอากรได้

สนามมวยเวทีลุมพินี (ชั่วคราว) ก็อยู่ในกฎเกณฑ์นี้ จึงนอกจากจะจัดรายการปกติแล้ว หัวหน้าคณะยังช่วยกันสนับสนุนมอบมวยดีๆ ในสังกัดของตนมาให้จัดเป็นรายการยิ่งใหญ่ขึ้นหลายรายการ บวกกับการประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยเข้าถึงมวลชนอย่างแท้จริง ส่งผลให้ สนามมวยเวทีลุมพินี เป็นที่รู้จักและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแฟนมวยในยุคนั้น”

เมื่อดำเนินการไปได้ 6 เดือน สัญญาเช่าก็หมดลง ขณะที่เทศบาลนครกรุงเทพฯ ขอให้ย้ายออก จึงต้องตัดสินใจว่า จะสร้างสนามที่ไหน จากการสัมภาษณ์พลตรี เอิบ (ยศในปี 2541) ระบุว่า ข้อติดขัดประการสำคัญคือ กฎกระทรวงมหาดไทยที่ระบุว่า จังหวัดหนึ่งจะให้ตั้งสนามมวยถาวรได้แห่งเดียว เมื่อมีสนามมวยเวทีราชดำเนินแล้วก็ไม่อาจมีสนามมวยถาวรแห่งที่สอง (ภายหลังมีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 18782/2504 ลงนามโดยพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยความว่า…อนุญาตจัดตั้งสนามแข่งขันชกมวยได้เฉพาะจังหวัดพระนครไม่เกิน 2 สนาม จังหวัดธนุบรีและจังหวัดอื่นๆไม่เกิน 1 สนาม)

สนามมวยสวนกุหลาบ

เมื่อนำเรื่องแจ้งต่อพลตรี ประภาส จารุเสถียร รองแม่ทัพภาคที่ 1 และรองผู้บัญชาการทหารบกที่ 1 (ตำแหน่งขณะนั้น) ซึ่งกำลังจะขึ้นเป็นยศพลโทในตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 จึงได้มีบัญชาให้จัดหาสถานที่สร้างสนามมวยใหม่ เพราะมีใบอนุญาตที่กระทรวงมหาดไทยออกให้ในนามกองพลที่ 1 รักษาพระองค์อยู่แล้ว

การจัดหาดำเนินไปแล้วพบว่า มีจุดเหมาะสมที่ถนนพระราม 4 ตรงข้ามภัตตาคารชายทะเลจันทร์เพ็ญ การคมนาคมสะดวกพอสมควร พื้นที่กว้างขวาง เมื่อติดต่อประสานงานขอใช้ที่ดินด้านติดกับถนนพระราม 4 เรียบร้อย บันทึกการวางศิลาฤกษ์เวทีถาวรที่ปรากฏในหน้าสื่อคือ มีพิธีวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2499

รายงานจากหนังสือ “42 ปีสนามมวยเวทีลุมพินี” เล่าว่า พ.ท. เอิบ แสงฤทธิ์ วิ่งเต้นยืมเงินจากกระทรวงกลาโหมมาก่อสร้างสนามถาวร อีกทั้งเปิดแข่งมวยหารายได้บำรุงสวัสดิการทหาร ดังที่ทำมาในสมัยเป็นเวทีชั่วคราวจนกระทั่งยุบตัวเพราะต้องคืนที่

รูปแบบการสร้างในครั้งนั้น ในบันทึกเล่าว่า เป็นโครงไม้ทั้งหมด ไม่ได้ใช้งบประมาณของหน่วย มีทหารจากกรมยุทธโยธาทหารบก เป็นช่างออกแบบและควบคุม ด้านแรงงานที่ใช้ก็ขออนุญาตเบิกตัวนักโทษทหารจากเรือนจำมทบ.1 หลักร้อยคนช่วยกันถางหญ้า ถมดิน ปรับพื้นที่ และสร้างอัฒจันทร์ชั้น 2-3 โดยรวมแล้วใช้เวลาเดือนเศษ เปิดทำการแข่งขันครั้งแรกเมื่อ 8 ธันวาคม 2499 มีพลโท ประภาส จารุเสถียร ประธานกรรมการ และทำพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้าย จึงถือเป็นการสถาปนา สนามมวยเวทีลุมพินี อย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา

อ้างอิง

สว่าง สวางควัฒน์, รวบรวมและเรียบเรียง. 42 ปี สนามมวยเวทีลุมพินี. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์

ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จาก : ดูอนิเมะออนไลน์ แทงบอลยูโร

อ่านเพิ่มเติม =>  นักมวยน้ำหนักเกิน