สนามมวยราชดำเนิน เวทีมวยที่อยู่คู่กับสังคมไทยนานเกือบ 8 ทศวรรษ
สนามมวยราชดำเนิน (Rajadamnern Stadium) เป็น เวทีมวยมาตรฐานแห่งแรกในไทย ที่ถือกำเนิดขึ้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เนื่องจาก “มวย” ในยุคนั้น ยังไม่ได้ถูกมองว่าเป็นกีฬาสากลด้วยซ้ำ เป็นเพียงแค่ศิลปะการต่อสู้ ที่สืบทอดต่อกัน มาจากบรรพบุรุษ แต่เมื่อมีเวทีราชดำเนินเกิดขึ้น สถานที่แห่งนี้ ก็ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญในการพัฒนามวยไทย และมวยสากล ให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับโลก
สนามมวยราชดำเนิน จึงไม่ใช่แค่ พื้นที่สำคัญของ วงการมวยไทย ที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่ทศวรรษที่ 8 แต่สถานที่แห่งนี้ ยังมีความเชื่อมโยงผูกพันกับ วัฒนธรรม และผู้คนในสังคมไทยมายาวนานร่วม 76 ปี ซึ่งบทความนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปร่วมกันเปิดตำนานสนามมวยราชดำเนิน กับความคลาสสิคอันทรงคุณค่า เพียงไม่กี่อย่าง ที่ยังหลงเหลืออยู่ จากยุคสงครามโลก
จุดกำเนิด เวทีมวยราชดำเนิน สนามมวยราชดำเนิน
เม็ดฝนที่ปอยลงมาจากท้องฟ้า กระทบลงอัฒจันทร์เก้าอี้ไม้ มิอาจทำให้ฝูงชนหลายพันชีวิต ในสังเวียนลักษณะคล้ายชามอ่างยักษ์ ครั่นคร้ามอยากลุกเดินหนี สายตาทุกคู่ยังคงจับจ้องไปยังเวทีผืนผ้าใบ 4 เหลี่ยม เพื่อดูการต่อสู้ของ 2 ยอดนักสู้ที่ถูกเลือกให้ขึ้นมาประชันชั้นเชิงมวย แม้กายของผู้ชมจะเปียกปอนด้วยหยาดฝน นั่นคือบรรยากาศของ เวทีราชดำเนินในอดีตที่ใคร ๆ ก็ต่างอยากเข้ามาสัมผัสกับ มหรสพความบันเทิงแห่งยุคสมัย ที่เป็นความแปลกใหม่ และสร้างความตื่นเต้น แก่ผู้คนในสังคมวงกว้าง
เวทีมวยราชดำเนิน เป็นหนึ่งในผลผลิตจากแนวคิดทางการเมืองของ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้มีความต้องการเปลี่ยนแปลงให้ สยามประเทศ มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติ อารยะประเทศ ในหลายด้าน
มวย ก็เป็นกีฬาหนึ่งที่ จอมพล ป. ต้องการปรับให้มีความเป็นสากลมากขึ้น ไม่ใช่แค่การละเล่นพื้นบ้านอีกต่อไป นั่นจึงเป็นที่มาของคำสั่งให้สร้าง สนามมวยบนถนนราชดำเนิน ในปี พ.ศ. 2484 แต่การสร้างสนามมวย ต้องล่าช้าออกไปถึง 3 ปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง และต้องหยุดชะงักไปชั่วคราว
ต่อมาเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังสิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่ 2 รัฐบาลไทย ได้เดินหน้าโครงการก่อสร้าง จนเสร็จลุล่วง พร้อมเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 อันเป็นวันสถาปนาสนามมวยเวทีราชดำเนิน
เวทีมวยราชดำเนิน สร้างความตื่นตัว แก่ผู้คนในสังคมไทย อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แม้มีสังเวียนมวยหลายแห่งที่ถือกำเนิดขึ้นมาก่อน แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่เวทีชั่วคราว เช่น สนามมวยสวนกุหลาบ ที่ดัดแปลงพื้นที่สนามฟุตบอลของโรงเรียนมาทำเป็นเวที, สนามมวยสวนเจ้าเชต (กรมรักษาดินแดนในปัจจุบัน), สนามมวยสวนสนุก ตั้งอยู่ในสวนลุมพินี, สนามมวยหลักเมืองท่าช้าง ตรงบริเวณโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน
เมื่อกล่าวแบบนั้น จึงไม่มีที่ไหนเลย ที่จะเป็นเวทีมาตรฐานที่มีรูปแบบกฎ กติกา ระเบียบข้อปฏิบัติที่ชัดเจน อันเป็นสากล เหมือนอย่างราชดำเนิน และการถือกำเนิดของสนามมวยบนถนนเส้นหลักของกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2488 ก็ได้เป็นเวทีต้นแบบของ สนามมวยในยุคต่อมา กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของวัฒนธรรมการซื้อบัตรเข้าชมกีฬาของคนไทย ทุกระดับ ทุกชนชั้น สามารถเข้าถึงได้ ไม่ได้ถูกจำกัดแค่เฉพาะชนชั้นสูงอย่างเดียว
ความนิยมของสถานที่แห่งนี้ จึงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนทั่วสารทิศต่างเฝ้ารอให้ถึงทุกวันอาทิตย์ ที่จะได้มาจับจองพื้นที่ด้านในสนาม ดูคนชกกันในเวทีมวยราชดำเนิน
มหรสพแห่งยุคสมัย เวทีมวยระดับมาตรฐานหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย
การถือกำเนิดของวิกราชดำเนิน มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ มวยไทยอาชีพ บูมขึ้นมา เหมือนปีระมิดด้านบนสุดได้ถูกประกอบเป็นรูปร่าง
ค่ายมวยทั้งบ้านนอก เมืองกรุง บ้านทุ่งแดนไกล แต่ก่อนพวกเขาทำมวยเพื่อนำไปต่อยตามเวทีภูธร และเวทีชั่วคราวขนาดเล็ก เพื่อแลกเงินเพียงน้อยนิด ก็เริ่มมีจุดหมายใหม่ที่อยากผลักดันให้ นักมวยในสังกัดตัวเองได้มีโอกาสมาชกมวยราชดำเนิน ซึ่งให้ค่าตอบแทนสูงกว่า และมีโอกาสมากมายให้ต่อยอด
ไม่เพียงเท่านั้น กระแสความตื่นตัวที่มีต่อเวทีมวยราชดำเนิน ยังทำให้เกิดการสร้างเวทีมาตรฐานรอบนอก ในพื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล รวมถึงหัวเมืองใหญ่ทั่วไทย ซึ่งสังเวียนเหล่านี้ก็เป็นเหมือนปีระมิดชั้นรองลงมา ที่จะคัดกรองเอานักมวยระดับหัวกะทิจากทั่วไทย มาเจอกันในราชดำเนิน สถานะของ เวทีมวยราชดำเนิน ในอดีตจึงไม่ต่างอะไรกับ ศาลาเฉลิมกรุง เพราะเป็นสถานที่ที่ผู้คน อยากเข้ามาตักตวงความสำราญเริงใจกลับไป
เนื่องจาก ที่ตั้งของเวทีแห่งนี้ อยู่บนถนนราชดำเนิน ตัดกับถนนพะเนียง ตรงข้ามกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เดินทางไม่ยากนัก บ้างก็หอบหิ้วครอบครัว บางคนก็มากันเป็นกลุ่มเพื่อน เพื่อมาดูสุดยอดมวยไทย และมวยสากล ชกกันที่นี่
สนามมวยราชดำเนิน จึงเป็นความใ่ฝ่ฝัน ของนักมวยไทยทุกคน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่อยากจะเข้ามาต่อย ในเวทีชามอ่างยักษ์ เพื่อสร้างชื่อเสียง และเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความเป็น ซูเปอร์สตาร์ ในวัฒนธรรมกระแสหลัก
ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อหลายทศวรรษก่อน นักมวยที่เก่งกาจ ทำผลงานดีในเวทีราชดำเนิน ก็จะกลายเป็นคนดัง มีสถานะไม่ต่างกับดาราภาพยนตร์ ที่มีผลงานบนแผ่นฟิล์มเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นมหรสพความบันเทิง ที่คนส่วนใหญ่ ให้ความสนใจ ใคร่ติดตาม และจะถูกนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารบนหน้าสื่อมวลชน
ที่สำคัญ นักชกทุกคนต่างรู้ดีว่า หากโชว์ผลงานได้ดียามขึ้นสังเวียนเวทีราชดำเนิน พวกเขาก็จะมีโอกาส ได้ไปต่อยอดสู่การเป็น นักมวยสากล สมัครเล่นทีมชาติไทย ล่าความสำเร็จในมหกรรม กีฬาระดับนานาชาติ รวมถึงไต่เต้าสู่บัลลังก์ แชมป์โลกมวย สากลอาชีพ
โผน กิ่งเพชร , ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เวนิส บ.ข.ส. , พเยาว์ พูนธรัตน์, เขาทราย แกแล็คซี่, รัตนพล ส.วรพิน, ชนะ ป.เปาอินทร์ คือรายชื่อส่วนหนึ่งเหล่าฮีโร่มวยสากลไทย ที่ล้วนมีจุดกำเนิดและเริ่มต้นสร้างชื่อเสียงจากการต่อสู้บนผืนผ้าใบเวทีมวยราชดำเนิน
ตำนานบทใหม่แห่งเวทีมวยราชดำเนิน เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
แม้ยุคสมัยต่อมา วงการกีฬาอาชีพบ้านเรา จะมีหลายชนิด ที่เข้ามาช่วงชิงพื้นที่ความสนใจจากผู้คน อาทิ ฟุตบอล, วอลเลย์บอล, แบดมินตัน, เซปัคตะกร้อ แต่การแข่งขันมวยในเวทีมวยราชดำเนิน ก็ยังคงมีความคลาสสิค มีมนต์ขลัง และเป็นเสน่ห์ที่หาจากกีฬาอื่นไม่ได้
เทวีมวยราชดำเนิน เป็นสถานที่ที่เชิญเชื้อ ให้นักท่องเที่ยว จากทั่วโลก ยอมบินข้ามฟ้า มาตีตั๋วริงไซด์ เพื่อเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของสังเวียนแห่งตำนานที่ยืนหยัดอยู่คู่กับประเทศไทยมานานมากกว่า 7 ทศวรรษ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ ราชดำเนิน ไม่เคยตกยุค คือ แนวคิดที่พร้อมปรับตัว และเปลี่ยนแปลง เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ตลอดเวลา
อย่างในอดีต ราชดำเนิน เป็นสนามมวยที่ไม่มีแม้กระทั่งหลังคาป้องกันแดด ลม ฝน แต่ต่อมาไม่นาน ก็ได้มีการปรับปรุงต่อเติม ที่นั่ง และหลังคา รวมถึงที่นี่ยัง เป็นเวทีมาตรฐานแห่งแรกของไทย ที่ติดเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ จนถูกสื่อมวลชนเรียกว่า “วิกแอร์” และสนามมวยราชดำเนิน ยังได้มีการส่งบุคลากรมวยไทย ไปเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ ประจำชาติเรา ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : แทงบอลยูโร ดูอนิเมะออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม => วิเคราะห์มวย