พเยาว์ พูนธรัตน์ เปิดบันทึกประวัติศาสตร์ นักมวยไทยคนแรก ผู้ที่ได้เหรียญโอลิมปิกเกมส์
พเยาว์ พูนธรัตน์ คือนักกีฬาไทยคนแรก เป็นวีรบุรุษโอลิมปิคคนแรก ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ และได้คว้าเหรียญทองแดง ในรุ่นไลท์ฟลายเวท (48.9 กิโลกรัม) นับว่าเป็นนักกีฬาไทยคนแรก ที่ได้เหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค โดยขณะนั้น พเยาว์ มีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูประวัติของวีรบุรุษนักกีฬาไทยคนนี้กัน
พเยาว์ พูนธรัตน์ มีชื่อเล่นว่า “จ้อน” เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เป็นชาว อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดียวกับ โผน กิ่งเพชร เขาจึงได้ พยายามเจริญรอยตาม ฮีโร่ในวัยเด็ก เขาเริ่มเข้าสู่วงการมวยไทยในนาม “เพชรพเยาว์ ศิษย์ครู ทัศน์” ซึ่งในขณะนั้น พเยาว์ มีไม้ลายมือในระดับภูธร และพระนคร หลังจากเปลี่ยนเส้นทางมาชกมวยสากลสมัครเล่น
ชกมวยในสังเวียนมวยสากล จนติดทีมชาติและได้แชมป์มาประดับชื่อเสียงมากมาย หลายรายการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น แชมป์มวยคิงส์คัพ, แชมป์ โกลเด้นคัพ ที่เคนยา, เหรียญเงินมวยสมัครเล่นชิงแชมป์โลก ที่สหรัฐฯ และโด่งดังสุดขีดเมื่อติดธงไตรรงค์ในรุ่น ไลต์ฟลายเวต ร่วมศึก “มอนทรีออล 1976” ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปี 2519
การศึกษาและเส้นทางของการเข้าสู่วงการมวยสากลจากสมัครเล่นไปมืออาชีพ
พเยาว์ในวัยเด็กนั้น เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนการช่างวัดราชสิทธิ จนกระทั่งถึงชั้นมัธยมปีที่ 5 ชีวิตของเขาก็หันเหมาชกมวยสากลสมัครเล่นเพียง 2 ปี ไม่นานเขาก็กลายเป้นวีรบุรุษคนแรกของไทย หลังเอาชนะ เรมัส คอสมา จากโรมาเนีย 4-1 รอบสองชนะ อเล็ก ซานเดอร์ กาเชนโก จากสหภาพโซเวียต 3-2 รอบ 8 คนสุดท้าย ชนะ จอร์ดี เกโด จากฮังการี 4-1 ผ่านเข้าตัดเชือกการันตีเหรียญ ก่อนจะไป พ่ายแพ้ให้กับ ลี บยอง อุ๊ก กำปั้นจากเกาหลีใต้ อาร์เอสซี ยก 2 แต่ก็เพียงพอจะเปิดประวัติศาสตร์หน้าแรกของไทยในโอลิมปิกเกมส์
เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย พเยาว์ ก็เริ่มต้นเดินหน้าเข้าสู่วงการ มวยสากลอาชีพ ภายใต้สีเสื้อ ธรรมนูญ วรสิงห์ ผู้จัดการของเนตรน้อย ศ.วรสิงห์ แต่ก็ภายไปสังกัด จูน ซาเรียล โปรโมเตอร์ชาวฟิลิปปินส์ ภายหลัง จนกระทั่งติดอันดับสถาบันมวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (OPBF) และยังได้รับการติดต่อ ให้ไปชิงแชมป์กับ ซุน ซุน กวอน นักมวยชาวเกาหลีใต้ ที่ กรุงโซล ถิ่นของแชมป์ ซึ่งผลการชก พเยาว์ พ่ายไปอย่างค้านสายตาคนดู ทั้ง ๆ ที่ส่งนักชกเจ้าบ้านไปกองนับ 8 ด้วยซ้ำ
หลังจากนั้น พเยาว์ ก็ได้รับการปลุกปั้นอย่างดี ภายใต้สังกัดใหม่ของ สหสมภพ ศรีสมวงศ์ เขาทำผลงานได้ดีตามลำดับจนได้ขึ้นชิงแชมป์รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์) ของสภามวยโลก (WBC) กับ ราฟาเอล โอโรโน่ แชมป์เวเนซุเอลา ที่โรงแรมแกรนด์ พาเลซ พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 พเยาว์ สามารถเอาชนะคะแนนไปได้อย่างหวุดหวิด และทำให้คนไทยดีใจอีกครั้ง เพราะเขากลายเป็น แชมป์โลกคนแรกของไทย ในช่วงที่ขาดแคลนแชมป์โลกมากว่า 6 ปี
หลังจาก แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ที่เป็นแชมป์อยู่ขณะนั้น เสียแชมป์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2521 อีก 2 ปีถัดมา พเยาว์ ก็เดินทางไปชิงแชมป์กับ จิโร วาตานาเบ้ แชมป์รุ่นเดียวกันของฝั่งสมาคมมวยโลก (WBC) ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น แต่เอาเข้าจริง วาตานาเบ้ ถูกปลดออกจากตำแหน่ง กะทันหัน ทำให้ในวันชก พเยาว์ จึงขึ้นสังเวียนเพื่อป้องกันแชมป์แทน ผลการชก พเยาว์ พ่ายไปอย่างน่ากังขาอีกหน ก่อนจะถูกย้ำแค้นพ่ายน็อกยก 11 ในไฟต์ล้างตา ซึ่ง พเยาว์ ได้ชกกับ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ นักมวยสร้างรายใหม่ เพื่อเป็นบันไดให้นักชกรุ่นน้อง ก่อนแขวนนวมทันที
ชีวิตนอกผืนผ้าใบของ พเยาว์ พูนธรัตน์ วีรบุรุษมวยสากลของไทย
นอกผืนผ้าใบ พเยาว์ ทำงานในธนาคารกรุงเทพ สาขา สำนักงานใหญ่ ในสีลม ก่อนที่เขาจะลาออกมารับราชการตำรวจ กองโยธาธิการกรมตำรวจโดยได้ยศสูงสุดคือ ร้อยตำรวจเอก (ร.ต.อ.) จากนั้นปี 2538 ตัดสินใจลาออกจากชีวิตตำรวจ เพื่อสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ที่บ้านเกิด แต่สอบตก ซึ่งนักชกเหรียญทองแดงโอลิมปิกไม่ยอมแพ้ลงเลือกตั้งอีกหลายครั้งและประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2544 ได้เป็นผู้แทนในเขต 3
1 ปีต่อมา พเยาว์ ก็ป่วยเป็น โรคเส้นเลือดในสมองตีบ หรือ ALS โรคที่ใครน้อยรายจะเป็น แม้ว่า เขาจะเข้ารับการรักษา แต่อาหารก็มีแต่ทรุดหนักลงทุกที ร่างกายเริ่มขยับเขยื้อนไม่ได้ เขาต้องนั่งรถเข็นตลอด และอาการก็ยังไม่ดีขึ้นกลับรุนแรงหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนเป้นอัมพาดพูดไม่ได้ และต้องนั่งอยู่บนรถเข็น หลังจากนั้นเขาจึงถูกปลดจากตำแหน่งผู้แทน แต่เขาก็ยังมี นางอดาวัลย์ พูนธรัตน์ ภรรยา และ น.ส.รมณ พูลธรัตน์ และ นายปัณณพัฒน์ พูลธรัตน์ คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง
พเยาว์ พูนธรัตน์ ประวัติ เคยให้สัมภาษณ์ด้วยการใช้ปากคาบหลอดกาแฟแล้วจิ้ม ไปยังพยัญชนะและสระบนแผ่นกระดาษคล้ายการเล่น “ผีถ้วยแก้ว” แล้วให้คนจดตามรวม 2 หน้า เนื้อความว่า
“ผมเป็นโรคเอแอลเอสไม่มีทางรักษาได้ ในอังกฤษมีคนเป็นกันมาก บ้านเราก็เป็นหนึ่งในล้าน ผมโชคไม่ดี อาการของโรคจะมีอาการหายใจติดขัด จะกินอาหารก็ลำบาก มีอาการสำลักตลอดเวลา ทุกวัน ผมต้องต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ผมเดินไม่ได้ แขนขาขยับไม่ได้ แต่ความจำและสมองของผมยังดีอยู่ ขอให้ทางรัฐบาลได้จัดงานวิจัยจัดงบประมาณให้มากกว่านี้ จากประสบการณ์การรักษาของผมด้วยสมุนไพร ทำให้ผมได้รู้ว่าสาเหตุการป่วยมาจากส่วนหนึ่งของเลือดเสีย เป็นการช้ำของการต่อสู้ ซึ่งไม่สามารถจะนำเลือดที่เสียส่วนนี้มาฟอกให้ดีได้”
“จากการรักษาอยู่ประมาณ 2 ปี ทำให้รู้ว่าเลือดเสียและไขมันที่ยังคั่งค้างอยู่ที่เป็นกลุ่มก้อนนั้นได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่า เป็นส่วนหนึ่งของไขมันและเลือด มีพยานจำนวนมากที่ได้เห็นได้รู้ มีหมอรักษาแผนโบราณอยู่ที่ ต.ตาขวัญ อ.เมือง จ.ระยอง ผมขอเรียกร้องว่าครั้งหนึ่งผมได้เหรียญทองแดงในปี 2519 และได้รับความช่วยเหลือในปี 2545 ผมกำลังจะหมดลมหายใจ ใครจะช่วยเหลือในเรื่องยา ซึ่งตกเดือนละประมาณ 25,000 บาท และค่าอาหารทางด้านโปรตีน และอื่นๆ ก็ตกเดือนละประมาณ 20,000 บาท”
ต่อมา ฮีโร่โอลิมปิก ก็เสียชีวิตลงอย่างสงบในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่โรงพยาบาลศิริราช
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : UFABET , ดูอนิเมะออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม =>