เปิดประวัติ สมรักษ์ คำสิงห์ นักมวยโอลิมปิก ผู้คว้าเหรียญทองแรกของไทย
สมรักษ์ คำสิงห์ ชื่อเล่น บาส นักมวยโอลิมปิก ผู้คว้าเหรียญทองแรกของไทย นักมวยสากลไทย เขาคือเจ้าของตำนานเหรียญทองโอลิมปิก เหรียญแรกของประเทศไทย และเป็นอดีตยอดนักมวยไทย
สมรักษ์ คำสิงห์ เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2516 ปัจจุบันเจ้าตัวมีอายุ 48 ปี บ้านเกิดคือจังหวัดขอนแก่น โดยมี นายแดง พ่อของสมรักษ์ เป็นนักมวยเก่า ทำให้เขาได้รับการฝึกฝนมวยไทยจากพ่อของเขาตั้งแต่ยังเด็ก และได้ขึ้นชกมวยไทยครั้งแรก เมื่อตอนที่เขามีอายุเพียง 7 ขวบ เท่านั้น
พ่อของสมรักษ์ ตระเวนพาเขาไปชกมวยไทยตามเวทีงานวัดต่าง ๆ จนได้รับการทาบทามจาก คุณณรงค์ กองณรงค์ หัวหน้า ค่ายมวยณรงค์ยิม ให้มาเป็นนักมวยในสังกัด หลังจากนั้น สมรักษ์ ก็ขึ้นชกมวยไทยในชื่อ สมรักษ์ ณรงค์ยิม และได้เป็นนักมวยไทย ที่มีชื่อเสียง ในแถบจังหวัดขอนแก่น
แต่ทว่าในเวลาต่อมา พ่อของ สมรักษ์ และเจ้าของค่ายมวย ณรงณ์ เกิดความขัดแย้งกัน สมรักษ์ จึงย้ายไปเป็นักมวย ค่ายศิษย์อรัญ และได้มีโอกาส เข้ามาชกมวยไทยในกรุงเทพ สมรักษ์ ได้เข้าเรียน ในโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา โดยเขาได้ชกทั้งมวยไทย และมวยสากลสมัครเล่น คู่กันไป ซึ่งในการชกมวยไทย เขาก็ได้เปลี่ยนชื่อ มาใช้ชื่อ “พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ”
สไตล์การชกที่มีชั้นเชิงในการชกที่ดี และการเข้าสู่การวงการมวยสากล
ตลอดการชีวิต บนเวทีมวยของ สมรักษ์ เขาคือยอดมวย ที่มีชั้นเชิงในการชกที่ดี ชกมาแล้วในเวทีใหญ่ ๆ ทั้ง เวทีราชดำเนิน และ เวทีลุมพินี แต่ทว่า สมรักษ์ ไม่เคยได้แชมป์มวยไทยของเวทีไหนเลย สมรักษ์ ชกมวยไทยจนถึงปีพ.ศ. 2538 ในการขึ้นชกครั้งสุดท้ายกับ สุวิทย์เล็ก ส.สกาวรัตน์ สามารถชนะน๊อคได้ในยกที่ 4 แล้วหลังจากนั้น สมรักษ์ ก็หันมาชกมวยสากลเพียงอย่างเดียว
สมรักษ์ คำสิงห์ เข้าสู่เส่นทาง นักมวยสากลสมัครเล่น ทีมชาติไทย และได้ร่วมแข่งขันในโอลิมปิก ที่บาร์เซโลนา ในปี พ.ศ. 2535 โดยชกในรุ่นเฟเธอร์เวท (น้ำหนักมากกว่า 122 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 126 ปอนด์) แต่ก็ชนะผ่านเข้าไปถึงแค่รอบสองเท่านั้น ในปีพ.ศ. 2536 ได้เป็นตัวแทนแข่งขันชกมวยทหารโลก โดยเขาได้รางวัลเหรียญทอง แต่ในปีนั้น สมรักษ์ ก็ต้องถอนตัวจากการเป็นตัวแทนทีมชาติเพราะไม่พร้อม
ในปีพ.ศ. 2537 สมรักษ์ ก็มีชื่อเสียงจากการเป็นนักกีฬาไทย เพียงหนึ่งเดียว ที่สามารถคว้าเหรียญทอง จากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้นที่ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น เกือบจะถูกตัดสิทธิ์ เพราะตรวจสมรรถภาพร่างกายไม่ผ่านในครั้งแรก
ในปีพ.ศ. 2538 สมรักษ์ คำสิงห์ได้เหรียญทองจากกีฬาซีเกมส์ ที่เชียงใหม่ และผ่านการคัดเลือกให้ไปชกในโอลิมปิก รอบสุดท้าย และเมื่อถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่เมืองแอตแลนตา สมรักษ์ ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์ คว้าเหรียญทอง จากโอลิมปิกเหรียญแรก ของประเทศไทยมาครองได้ หลังการคว้าเหรียญทองโอลิมปิก สมรักษ์ ได้รับการเลื่อนยศ จากทางต้นสังกัดกองทัพเรือ (ทร.) จาก จ่าเอก (จ.อ.) ขึ้นเป็น เรือตรี (ร.ต.)
เส้นทางของ นักมวยโอลิมปิก เหรียญทอง และเอเชี่ยนเกมส์ วีรบุรุษโอลิมปิก เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิง
นอกจากได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยตรี สมรักษ์ คำสิงห์ ก็ได้มีงานในวงการบันเทิงเข้ามา ซึ่งใครที่เคยดูละครเมื่อสิบปีที่แล้ว ก็คงจะคุ้นกันดี ภายหลังจากได้เหรียญทองแล้ว สมรักษ์กลายเป็นบุคคลชื่อดังไปในทันที กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ในเวลาไม่นาน
ด้วยความเป็นคนมีบุคคลิกเฮฮา มีสีสัน น่าสนใจ ภายหลังจากกลับมาจากโอลิมปิคที่แอตแลนต้าแล้ว สมรักษ์ก็มีงานในวงการบันเทิงเข้ามา เริ่มจาก ละครเรื่อง “นายขนมต้ม” ทางช่อง 7 ที่รับบท เป็นนายขนมต้มพระเอก โดยประกบคู่กับ กุลณัฐ ปรียะวัฒน์ นางเอก และเพื่อน ๆ นักมวยรุ่นพี่อีกหลายคน หลังจากนั้น สมรักษ์ ก็มีสถานะเหมือนเป็นดาราคนหนึ่ง มีงานต่าง ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ มากมาย จนทำให้เขามีเวลาในการซ้อมน้อยลง แต่ทว่าในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ใน ปี พ.ศ. 2541 สมรักษ์ ก็ยังคงคว้าเหรียญทอง มาครองได้
หลังจากการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ในครั้งนั้น ฟอร์มการชกของ สมรักษ์ ก็ดูต่ำกว่ามาตรฐาน ในปีพ.ศ. 2543 เขาเป็นตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกที่ซิดนีย์ แต่ครั้งนี้เขาสามารถผ่านเข้ารอบไปถึงรอบ 8 คนสุดท้าย
4 ปีต่อมา สมรักษ์ ได้เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกอีกครั้ง ที่กรุงเอเธนส์ ในครั้งนี้ สมรักษ์ ตกรอบแรก ทำให้หลังจากนั้น เจ้าตัวจึงได้ประกาศแขวนนวม เลิกชกมวยสากลสมัครเล่น อย่างเด็ดขาด
หลังจากนั้น สมรักษ์ ก็ยังมีการกลับมาชกมวยบ้าง แล้วแต่โอกาศทั้งการชกกับ ฌอง-คล็อด แวน แดมม์ (Jean-Claude Van Damme) นักแสดงแอคชั่นของฮอลลีวูด หรือแม้กระทั่งการกลับมาชกมวยไทยกับ ยอดวันเผด็จ สุวรรณวิจิตร และ จอมโหด เกียรติอดิศักดิ์
ปัจจุบัน สมรักษ์ ได้แขวนน่วมอย่างเด็ดขาดแล้ว จะมีการชกมวยโชว์บ้างตามแต่โอกาส และยังคงมีผลงาน ในวงการบันเทิง ออกมาเป็นระยะ ๆ ล่าสุด ได้แสดงภาพยนตร์ระดับโลกเรื่อง จอมคนผงาดโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยบทบาทในเรื่องต้องปะทะกับ หลี่เหลียนเจี๋ย ด้วย รวมทั้งยังเปิดค่ายมวยเป็นของตัวเอง ชื่อว่า ส.คำสิงห์ และมีกิจการของตัวเอง เช่น ร้านหมูกระทะ ชื่อ “สมรักษ์ย่างเกาหลี”
ผลงานในการแข่งขันมวย
- แชมเปียน นักเรียนนวมทอง ของ โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา 5 ปี
- แชมเปียน การแข่งขันมวย ของกรุงเทพมหานคร 2 ปี
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในกีฬาแห่งชาติ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- เหรียญทองแดง การแข่งขันมวยทหารโลก ที่ประเทศเดนมาร์ก
- เหรียญเงิน การแข่งขัน เมเยอร์ คัพ ที่ประเทศฟิลิปปินส์
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศอิหร่าน
- เหรียญเงิน การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 7 ที่ประเทศไทย
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท ในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2537 ที่ฮิโรชิมะ ญี่ปุ่น
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2538 ที่ จังหวัดเชียงใหม่
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดเชียงใหม่
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 26 ประจำปี พ.ศ. 2539 ที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2541 ที่ กรุงเทพมหานคร
- เหรียญทอง การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2545
- เป็นนักมวยไทยคนแรกที่ผ่านรอบคัดเลือก เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปแข่งขันรอบสุดท้าย ในกีฬา โอลิมปิก เกม ถึง 4 ครั้งติดต่อกัน คือ
- กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2535 ที่บาร์เซโลนา
- กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 26 พ.ศ. 2539 ที่แอตแลนตา
- กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 พ.ศ. 2543 ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
- กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 28 พ.ศ. 2547 ที่เอเธนส์ กรีซ
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : UFABET , ดูอนิเมะออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม =>