นักมวยหญิง เสน่ห์จันทร์ ส.จ.โต้ง

นักมวยหญิง แชมป์มวยหญิงคนแรกของสนามมวยลุมพินี เวทีระดับโลก

นักมวยหญิง ตลอดระยะเวลาที่สนามมวยลุมพินีได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา นานกว่า 65 ปี ยังไม่มีอิตสตรีผู้ใดได้รับอนุญาตให้ขึ้นชก หรือแม้แต่สัมผัสพื้นเวทีมาตรฐานอันทรงเกียรติ ทว่าปัจจุบันนี้ ธรรมเนียมของคนมวยที่ยึดถือกันมา อย่างยาวนานได้ สิ้นสุดลง หลังจากที่ นิราวรรณ ตังจิว หรือ “เสน่ห์จันทร์ ส.จ.โต้งปราจีน” ได้ขึ้นชกและกลายเป็นแชมป์มวยหญิงคนแรกของเวทีลุมพินี

นิราวรรณ วัย 17 ปี นักมวยสาวจากค่ายมวยเล็ก ๆ ใน จ.จันทบุรี ออกอาวุธเข่าใส่ ธนวรรณ ทองดวง หรือ “บัวขาว มกช.ชัยภูมิ” นักมวยรุ่นพี่วัย 21 ปี ก่อนที่เธอจะส่งคู่ต่อสู้ไปนอนกับพื้น ด้วยท่าเตะ ครบ 5 ยก กรรมการชูมือให้ นิราวรรณ เอาชนะคะแนน ธนวรรณ คว้าเข็มขัดแชมป์สภามวยโลก (WBC) รุ่นมินิฟลายเวท หรือรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 105 ปอนด์ ที่ว่างอยู่ไปครอบครองได้สำเร็จ

นักมวยหญิงร่างเล็ก รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติ ที่ได้กลายเป็นแชมป์โลก ชัยชนะของเธอ ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจแก่ตัวเธอและครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใน วงการมวยไทย สนามมวยลุมพินี เวทีมาตรฐานที่ นักชกต่างใฝ่ฝันอยากจะขึ้นชก ไม่ได้สงวนไว้สำหรับนักชกชายอีกต่อไป

ป้ายที่เคยถูกวางไว้ ระบุทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษว่า “สุภาพสตรีห้ามพิงหรือขึ้นเวทีโดยเด็ดขาด” ความเชื่อที่มีมาแต่อดีต ว่าเวทีมวยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มวยไทยเป็นศาสตร์ที่มีครู เป็นหนึ่งในข้อจำกัด ที่ทำให้นักมวยหญิง ไม่มีโอกาสก้าวหน้า ในวงการเท่านักมวยชาย

แม้บันทึกประวัติศาสตร์ครั้งนี้จะ ไม่สมบูรณ์แบบมากนัก เพราะการชกกันของ “เสน่ห์จันทร์” กับ “บัวขาว” จำเป็นต้องย้ายสถานที่จัดการแข่งขันไปยังเวทีชั่วคราวแบบเปิดที่อยู่ข้างกับอาคารสนามมวยหลัก เพื่อเป็นไปตามมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 ของรัฐบาล แต่ก็ถือว่าการชิงชัยในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงสามารถเข้าร่วมการแข่งขัน ที่จัดโดยสนามมวยลุมพินี

แม้จะได้ขึ้นชกมวยบนเวทีเยียงชาย แต่ผู้หญิงก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น การก้าวขึ้นเวทีที่นักมวยหญิงต้องลอดใต้เชือกเส้นสุดท้ายเท่านั้น ในขณะที่นักมวยชายจะลอดหรือข้ามเชือกเส้นใดเพื่อขึ้นเวทีก็ได้

สนามมวยลุมพินีจากคลัสเตอร์โควิด สู่ สนามมวยระดับโลก

สนามมวยลุมพินี เป็นเวทีมวยระดับมาตรฐาน เวทีที่สองของประเทศไทย ถัดจากสนามมวยราชดำเนิน ก่อตั้งขึ้นในปี 2499 โดยในยุคนั้น มวยไทยเป็นเพียงศิลปะการต่อสู้พื้นบ้าน สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ไม่มีเวทีการแข่งขันเป็นหลักแหล่ง ไม่มีกฎกติกาที่ชัดเจน ต่อมาจึงได้ให้มีการปรับปรุงให้มีความเป็นสากลมากขึ้น

ที่ผ่านมา เวทีมวยแห่งนี้ เป็นสถานที่จัดมวยทั้งมวยไทยและมวยสากลนัดสำคัญ ๆ มามากมาย ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้ามาชมการต่อสู้ บ้างก็มาเสี่ยงโชค พนันมวย จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ขึ้นภายในสนามจากการแข่งขันเมื่อ 6 มี.ค. 2563

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายไปยังต่างจังหวัด แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยน ที่ทำให้สนามมวยลุมพินี ริเริ่มปรับภาพลักษณ์ของตัวเองไปสู่การเป็น สนามมวยระดับโลก

หลังจากที่ สนามมวยลุมพินี ถูกมองด้วยสายตาที่ไม่ดี เพราะเป็นแหล่งกำเนิดคลัสเตอร์ โรคระบาด โควิด 19 จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานที่ดี สร้างการยอมรับใหม่ จากที่เคยถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดผลเสียต่อสังคม ก็ทำให้กลายเป็นสถานที่จัดกีฬาที่ก่อประโยชน์แก่สังคม

พล.ท. สุชาติ หรือที่คนมวยเรียกกันว่า “บิ๊กแดง” ได้รับการแต่งตั้งจาก พล.อ. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้เข้ามาปฏิรูปการดำเนินงานของสนามมวยลุมพินีเมื่อเดือน พ.ย. 2563 ภายหลังจากที่คณะกรรมการเวทีชุดก่อนถูกปลดยกชุดจากกรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการระบาด

เขาได้รับมอบภารกิจจาก ผบ.ทบ. 3 ข้อคือ การกวาดล้างการพนันในสนามมวยลุมพินี การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และการสร้างความชอบธรรมให้สังคม ซึ่งการที่เขาตัดสินใจยกเลิกธรรมเนียมที่ห้ามนักมวยหญิงขึ้นชก เป็นผลมาจากความต้องการเจาะตลาดผู้ชมที่หลากหลายมากขึ้น

“ผมคิดว่ามวยไทยมันคือกีฬาชนิดหนึ่ง กีฬาทุกชนิด ไม่ว่ากีฬาอะไรในโลกกำหนดให้ทั้งเพศชายและเพศหญิงเข้าแข่งขัน การที่เราเปิดโอกาสในผู้หญิงขึ้นชกมวยจะทำให้วงการมวยหญิงในประเทศไทยหรือทั่วโลกเกิดการตื่นตัว และเวทีลุมพินีจะเป็นเวทีหนึ่งที่คนในโลกนี้อยากมาและอยากมาชก” พล.ท. สุชาติกล่าว

นอกจากนี้ พล.ท. สุชาติบอกว่า สนามมวยลุมพินี จะยกเลิกการขออนุญาตเล่นการพนัน จากกรมการปกครอง เพื่อเดินหน้าปรับตัว ไปสู่การจัดการแข่งขันที่เน้นความบันเทิง และเพื่อความใสสะอาด

สนามมวยลุมพินี คือความใฝ่ฝันของบรรดานักกีฬามวยไทย

การเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องผ่านการพูดคุย กับคนในวงการมวย ซึ่ง พล.ท. สุชาติบอกว่า

“เป็นขั้นตอนที่ยากลำบาก แต่ก็ผ่านไปด้วยดี”

“มันยากตรงที่คนไทยมีความเชื่อเรื่องครูบาอาจารย์ เพราะฉะนั้นความเชื่อตรงนี้ผมก็ไม่ได้ลบหลู่ ตอนที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงขึ้นชก ก็มีการทำพิธีขอขมา เพื่อขอความเมตตาว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะปล่อยให้เพศหญิงขึ้นชกและแสดงฝีมือให้ชาวโลกได้เห็น ซึ่งคนมวยส่วนใหญ่ยอมรับและเข้าใจในเจตนาของเรา”

สำหรับคนดูมวย มองว่า การมีนักมวยผู้หญิงขึ้นสู่สังเวียนระดับประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ ที่สามารถช่วยเปลี่ยนทัศนคติของคนมวยรุ่นเก่าได้ แต่ประเด็นเรื่องขนบธรรมเนียม ยังคงเป็นสิ่งท้าทายต่อการสร้างการยอมรับ สำหรับนักมวยหญิงใน วงการมวยไทย

เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยไปหมด อาจต้องใช้เวลาไปอีกสักพัก เพื่อให้เกิดความชินชา พูดไม่ได้เต็มปากว่า มวยไทยชาย-หญิงเท่าเทียมกัน เพราะเรื่องบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เช่น การลอดใต้เชือก ก็ยังถือกันอยู่ และน่าจะเป็นเรื่องยาก ที่จะเปลี่ยนแปลงได้

อย่างไรก็ตามผู้หญิงก็ต่อยมวยได้ เหมือนผู้ชาย นิราวรรณ หรือ “เสน่ห์จันทร์” เริ่มต่อยมวยตั้งแต่ ป.5 ตอนอายุ 11 ปี พ่อของเธอ ผู้เป็นเจ้าของค่ายมวยศักดิ์ชำนิ  ตัดสินใจฝึกสอนศิลปะแม่ไม้มวยไทย ตอนนั้นพ่อเธอ ให้มาต่อยแบบไม่ได้จริงจัง ไว้ให้ป้องกันตัว เพราะด้วยความที่เป็นลูกผู้หญิงตัวเล็ก โดนเพื่อนแกล้งมาบ่อย

เป้าหมายสูงสุดของ นิราวรรณ หรือ “เสน่ห์จันทร์” นักมวยหญิง สุดแกร่ง

หลังจากฝึกต่อยมวยมาได้ระยะหนึ่ง นิราวรรณ หรือ “เสน่ห์จันทร์” ก็ลองขึ้นสังเวียนมวยสมัครเล่นครั้งแรก ผลที่เจอคือความพ่ายแพ้ แต่เธอก็ไม่หวั่นล้มเลิกความพยายามที่จะเป็น นักมวยอาชีพ

ไฟต์แรกต่อยแพ้ ครั้งที่สองก็ยังแพ้ แต่เธอก็อยากที่จะชนะสักครั้ง หลังจากต่อยมาได้สักพัก พ่อเริ่มผลักดันเธอให้ต่อยเป็นอาชีพ เพราะเห็นแววของเธอ และเธอก็ชอบมวย แถมยังได้ค่าตัวอีกด้วย

หลังจากนั้นมา นิราวรรณต้องตื่นนอนตอนตี 5 และไปวิ่งเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง เมื่อกลับมาถึงค่ายมวยที่อยู่หลังบ้าน เธอจะฝึกซ้อมจนถึง 8 โมงเช้า ก่อนจะอาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน พอกลับมาจากโรงเรียน เธอจะซ้อมต่อจนถึงประมาณ 2 ทุ่ม ถึงได้กลับบ้านไปพักผ่อนและเริ่มวันใหม่เหมือนเดิมจนกว่าจะถึงวันแข่งขัน

ซึ่งกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของเธอ ที่ยังคงดำเนินแบบนั้มากว่า 6 ปี ล่อแหลมให้เธอกลายเป็นนักสู้ แม้ว่าเธอจะรู้สึกท้อแท้บ้าง กว่าที่เธอจะได้คัดเลือกไปชกบนเวทีลุมพินี เธอต้องเดินสายพิสูจน์ฝืมือ ตามเวทีต่างจังหวัดมาหลายไฟต์ จนถึงตอนนี้ เธอเอาชนะมาได้ 30 ครั้งจากสถิติการชกทั้งหมด 41 ครั้ง แต่เธอยังมีเป้าหมายที่ไกลกว่านั้น

“หนูไม่เคยคิดเลย ตอนนั้นก็คิดว่าต่อยไม่กี่ครั้งน่าจะเลิก ไม่คิดว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ หนูอยากไปให้ไกลที่สุดเลย ตั้งเป้าหมายไว้ถึงเหรียญทองโอลิมปิก”

และแล้วเป้าหมายสูงสุดของเธอ ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้ลงมติอย่างเป็นทางการให้ สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) เป็นสหพันธ์กีฬานานาชาติเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการปูทางไปสู่การบรรจุกีฬามวยไทยเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในอนาคตข้างหน้า แม้วงการมวยไทยอาจมีอุปสรรคสำหรับผู้หญิง แต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ถือว่า เปิดกว้างมาก ๆ แล้ว

ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : ดูบอลออนไลน์

อ่านเพิ่มเติม => ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์