นักมวยสากลอาชีพไทย

นักมวยสากลอาชีพไทย ไขข้อข้องใจทำไมประเทศเราถึงไม่ค่อยมี

นักมวยสากลอาชีพไทย ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมประเทศไทย มีนักมวยสากลสมัครเล่นเก่ง ๆ หลายคน และต่างคนก็ต่างได้เข้าไปแข่งขันระดับประเทศ เช่น กีฬาโอลิมปิก กีฬาเอเซียนเกม ต่าง ๆ ก็ดูมีฝีมือดีกันทั้งนั้น แต่ทำไมน้อยคนนักที่จะเดินสายอาชีพมวย แบบมืออาชีพ ชกเอาเข็มขัดระดับโลก แบบเมืองนอกเขาทำกัน

ซึ่งจะเห็นว่า ประเทศไทย มีความแตกต่างจากกำปั้นระดับโลก ที่เราอาจจะเคยได้ยินชื่อเสียงกันมาบ้าง หลายคนล้วนเคยผ่านเวทีแจ้งเกิด อย่างกีฬาโอลิมปิกกันไปแล้วกันทั้งนั้น อย่าง มูฮัมหมัด อาลี, ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, เกนนาดี้ โกลอฟกิ้น และ วาซิลี่ โลมาเชนโก้

ยอดมวยแชมป์หลายสถาบันเหล่านี้ ล้วนเคยผ่านเส้นทางของมวยสากลสมัครเล่นกันมาทั้งนั้น

แน่นอนว่า ไทยเรามี นักมวยเก่ง ๆ ที่ไปชกสายอาชีพเหมือนกัน หากว่าไม่นับ มนัส บุญจำนงค์ ที่หันไปชกสากลอาชีพ แต่เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ หรือ อำนาจ รื่นเริง ที่เป็นนักกีฬามย สากลสมัครเล่น แล้วไปต่อยอาชีพ ก่อนจะสามารถก้าวไปถึงตำแหน่งแชมป์โลก ของ IBF หรือ สหพันธ์มวยนานาชาติได้ ก่อนหน้านี้ ก็พอจะมีเหมือนกัน เช่น ประมวลศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ, พงษ์สิทธิ์ เวียงวิเศษ 2 ยอดแชมป์เอเชียนเกมส์ ก็เป็นภาพจำ ที่น้อยมาก

ความน่าสงสัยตรงนี้ เราจะพาทุกคนไปไขคำตอบกัน ว่าทำไมประเทศไทยถึงไม่ค่อยเห็นภาพนักมวยสากลอาชีพ โดยเราจะพาทุกคนไปดูตั้งแต่รากฐาน ความแตกต่างของสังคมไทย และสังคมเมืองนอก ว่ามันทำให้คนเราเลือกทางเดินชีวิตที่แตกต่างกันมาก

ความแตกต่าง มวยสากลสมัครเล่น-มวยสากลอาชีพ

ถึงกีฬาประเภทนี้ จะมีการชกออกหมัดใส่คู่ต่อสู้เป็นหลัก ผลการตัดสินแพ้ชนะ ไม่ว่าจะน็อค หรือนับคะแนน ก็มีความเหมือนกัน แต่ทว่ามวยสมัครเล่น กับมวยสากลอาชีพ ก็มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ทั้งรูปแบบและวิธีการ อย่างเช่น จำนวนที่ยกที่แข่งขันกัน ตามกติการมวยสากลสมัครเล่นจะชกกัน 3 ยก ๆ ละ 3 นาที ส่วนมวยสากลอาชีพจะต่อยกันทั้งหมด 12 ยก แต่ยกละ 3 นาทีเท่ากัน

ด้วยเหตุนี้ ทำให้แทคติค ความฟิต และสไตล์การชก ของแต่ละคน แตกต่างกันออกไป เพราะมวยสากลอาชีพ ต้องต่อยกันถึง 12 ยก จะเห็นได้ว่า ยกที่ 1 – 3 อาจจะดูเชิงกันก่อน ต่อยเก็บคะแนนกันไปทีละยก หาจังหวะดี ๆ น็อกได้ แล้วจึงออกหมัด ทำให้เราเห็นนักมวยหลายสไตล์ ทั้งพวกชอบคลุกวงใน แลกหมัดต่อยกันแบบดุดัน หรือจะพวกบ็อกเซอร์ ที่เน้นวงนอก คอยดักชก จังหวะด้วยฝีมือกัน

ซึ่งมันจะต่างกับมวยสากลสมัครเล่น ที่จะชกกัน 3 ยกเท่านั้น ดังนั้น นักมวยส่วนใหญ่จะที่อยากชนะในกติกาแบบนี้ เขาจะไม่มายืนแลกมัดกันกลางเวที ยิ่งแชมป์โอลิมปิกอย่างบ้านเรา เช่น สมรักษ์ คำสิงห์, สมจิต จงจอหอ, วิจารณ์ พลฤทธิ์, มนัส บุญจำนงค์, เอย พวกนี้คือฝีมือมวยทั้งนั้น อาศัยต่อยเก็บเอาคะแนน มากกว่ามายืนแลกกัน เพราะต้องชกเชิงแทคติค รายชื่อนักมวยสากลที่เป็นแชมป์ประเทศไทย

การจะเอาชนะด้วยการน็อคคู่ต่อสู้ ภายในระยะเวลา 2 ยก นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก นอกจากว่า จะเป็นหมัดปาฏิหาริย์

ส่วนเรื่องความแตกต่างในด้านอื่น ๆ ก็จะมองเห็นได้ชัดมาก นั่นคือ มวยสากลสมัครเล่น จะมีการสวมเฮดการ์ด และมีน้ำหนักนวมที่แตกต่างจาก มวยสากลอาชีพ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงเรื่องของเงินรางวัล ค่าตอบแทน ซึ่งมวยสากลอาชีพจะมีค่าตัวที่ขึ้นอยู่กับ ชื่อเสียงของนักมวยเอง ถ้ายิ่งเป็นคนดังมาก ๆ ระดับซูเปอร์สตาร์ ไปไหนคนก็รู้จัก ขึ้นชกที่ไหนก็เรียกสายตาคนดู

นั่นเลยกลายเป็นรายได้มหาศาลที่ พวกเขาจะได้รับ ขณะที่มวยสากลสมัครเล่น พวกเขาต้องกินเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงซ้อม และรับเงินโบนัสจากความพยายาม ที่รัฐมอบให้ ในยามที่ ถ้าคุณประสบความสำเร็จจากมหกรรมกีฬา เช่น ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ชิงแชมป์โลก และโอลิมปิกเกมส์

ความฝันที่แตกต่างกัน คนไทยไม่เหมือนกับคนเมืองนอก

เรื่องจริงอย่างหนึ่ง ในสังคมไทย คือ หลาย ๆ ครอบครัว ถ้ายิ่งในต่างจังหวัด พวกเขายากจน ไม่มีเงินทอง เลยคาดหวังจะให้ลูกหลาน เป็นข้าราชการ ใคร ๆ ก็มักจะมีความเชื่อและถูกปลูกฝั่งมาแบบนี้ ครอบครัวไหนมีลูกรับราชการ ก็จะเป็นหน้าเป็นตาให้กับครอบครัว ไปไหน ใคร ๆ ก็เคารพ เขาคิดกันแบบนั้น

และที่ยังสำคัญเลยก็คือ การเป็นข้าราชการ มันสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ฟรี แถมบุตรลูกเต้า ก็ได้รับสวัสดิการเรียนฟรี แบบนี้ใคร ๆ ก็ยากที่จะปฏิเสธ ถ้าคุณเป็นคนจนมาก ๆ ที่ต้องดิ้นรน เพราะมันแบ่งเบาภาระครอบครัวได้

แต่ทว่าในทางกลับกัน ครอบครัวคนไทยส่วนใหญ่กลับไม่สามารถส่งเสียลูก ๆ เรียนหนังสือสูง ๆ จนจบปริญญาตรี เพื่อเอาวุฒิการศึกษา ไปสมัครสอบเป็นข้าราชการได้ การเป็นนักกีฬาก็ยังเป็นหนทางอีกทางเลือก ที่ถ้าหากว่าคุณไม่มีเงินทอง คุณก็เป็นได้ ถ้าคุณมีความสามารถ ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติดได้ นี่ก็เป็นอีกหนทางที่จะทำให้ได้เป็นข้าราชการ

ปัจจุบัน มีนักชกชาวไทย ส่วนใหญ่ เมื่อติดทีมชาติ ก็จะได้สังกัดราชการกันหมด ไม่ว่าจะทหาร ตำรวจ ส่วนยศ ก็จะมีตั้งแต่ ชั้นประทวนหรือสัญญาบัตร ก็ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงที่สร้างให้กับประเทศชาติ เช่น เปี่ยมวิไล เล่าเปี่ยม นักชกหญิงคนแรก ที่สร้างประวัติศาสตร์ได้ทั้งเหรียญเงินชิงแชมป์โลก และไปโอลิมปิกเกมส์

โดยหลังจบโอลิมปิก 2016 เธอได้บรรจุราชการกองทัพเรือทันที ซึ่งถือเป็นการทำความความฝันให้เป็นจริง เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ดีใจที่สุดที่ความฝันเป็นจริง ได้ติดดาวเป็นนายร้อย พร้อมกับอยากให้น้องๆผู้หญิงที่รักกีฬาหมัดมวย ทุ่มเทขยันฝึกซ้อม เพราะว่าชกมวยก็สามารถทำให้มีหน้าที่การงานที่ดีได้ พร้อมกับจะชกรับใช้ชาติต่อไป” แชมป์โลกชาวไทยในปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน นักมวยต่างประเทศส่วนใหญ่ กลับมองว่าการได้ต่อยในระดับอาชีพ สามารถให้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่าและมั่นคง การเป็นได้ขึ้นชกชิงเข็มขัดแชมป์โลกเพียงครั้งเดียว ก็อาจเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากชนะก็จะนำมาซึ่งชื่อเสียงเงินทองมากมายหลายอย่าง ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วจึงเลือกใช้มวยสากลสมัครเล่นเป็นทางผ่าน ความพยายามที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ แมนนี่ ปาเกียว แชมป์โลก 8 รุ่น , ฟลอยด์ เมย์เวทเทอร์ จูเนียร์ แชมป์โลกไร้พ่ายชาวอเมริกัน ทั้งคู่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้ตอนนี้ต่างคนก็นอนนับเงินเล่นกันอย่างมีความสุขสบายไปทั้งชาติแล้ว

นักมวยสากลอาชีพไทย สุดท้ายแล้ว ก็จะมีจุดอิ่มตัว แขวนนวมกันไปที่สุด

อย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อนักมวยคนหนึ่งก้าวไปถึงจุดประสบความสำเร็จ หรือไม่ประสบก็ตาม ล้วนต้องอาศัยความพยายามอย่างหนัก และต้องอดทนมีระเบียบวินัยมากกว่าคนทั่วไป ชนิดที่คนทั่วไปอาจจะนึกภาพไม่ออกว่า การจะเป็นนักมวย ต้องเสียสละอะไรในชีวิตบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ

ขณะเดียวกัน ชีวิตนักกีฬา ไม่ได้มีระยะเวลามากพอให้ทำตามความท้าทายได้ตลอดไป แถมระบบการสร้างนักมวยอาชีพ ในบ้านเรา มันไม่ทัดเทียมแบบนานาชาติ มีเพียงไม่กี่ค่ายที่สามารถ สร้างความเป็นมืออาชีพได้เหมือนต่างประเทศ

ทั้งวิธีการซ้อม การสร้างแรงจูงใจ แต่ก็ ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น จากนักกีฬาได้มากพอ ทำให้นักชกไทยส่วนใหญ่ เลือกที่จะอยู่กับความสำเร็จ ที่ได้มามากกว่า

นอกจากนั้นหากคุณประสบความสำเร็จ ในมหกรรมกีฬา เงินรางวัลที่ได้รับจากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติของรัฐบาล เป็นจำนวนที่มากพอที่จะอยู่ได้ทั้งชีวิตหรือสามารถเอาไปต่อยอดทำธุรกิจได้ อย่างเช่น โอลิมปิก เหรียญทองได้เงิน 12 ล้านบาท เหรียญเงิน 7.2 ล้านบาท เหรียญทองแดง 4.8 ล้านบาท

และหากนับรวมกับ เงินที่ภาคเอกชนมอบให้แล้ว ขั้นต่ำเหรียญทองแดง ประมาณ 10 ล้านบาท เหรียญทองไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท นับเป็นจำนวนเงินที่มหาศาล พนักงานออฟฟิศทั่วไป ทำงานทั้งชีวิตก็หาไม่ได้

นี่ยังไม่ได้กล่าวถึง รายการต่าง ๆ อย่างซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ชิงแชมป์โลก ชิงแชมป์ทวีป ฯลฯ ที่รัฐบาลอัดฉีดให้ทุกครั้ง (จำนวนเงินก็ขึ้นอยู่กับความยากของมหกรรม) ไหนจะค่าเบี้ยเลี้ยงซ้อม เงินเดือนนักกีฬา เงินเดือนราชการ

บางคนหลังแขวนนวมแล้วยังผันตัวไปเป็นโค้ช มีชื่อเสียงก็เปิดค่ายมวย ไหนจะงานโฆษณา งานในวงการบันเทิง ทุกสิ่งทุกอย่างที่หลั่งไหลเข้ามาเหล่านี้ บวกกับอนาคตที่มั่นคงจากการรับราชการ แล้วพวกเขาจะฝ่าฝันเอาอะไรอีก

ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : ดูซีรี่ย์

อ่านเพิ่มเติม => ประวัติ นาโอยะ อิโนะอุเอะ