นักมวยที่ออกหมัดเร็วที่สุดในโลก เด็กชายผู้หวังไปโอลิมปิกในฐานะนักมวยทีมชาติ

นักมวยที่ออกหมัดเร็วที่สุดในโลก หากจะกล่าวถึง บ้านของแชมป์โลก ในวัฒนธรรมมวย ต้องบอกว่าย่านบร็องซ์ แห่งมหานครนิวยอร์ก ก็มีแชมป์โลก ในวางการมวยมากมาย มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ เจค ลาม็อตตา มาจนถึง ชูการ์เรย์ โรมินสัน หรือแม้แต่ ไมค์ ไทสัน ทั้งหมดนี้ ล้วนมีถิ่นกำเนิดมาจากย่านบร็องซ์ แต่อย่างไรก้ตาม ในอีกเมืองหนึ่งอย่าง ชิคาโก รัฐ อิลลินอย์ พวกเขาก็มีวัฒธรรมมวยเป็น และเป็นเมืองของแชมป์โลกด้วย

แม้ว่า ชิคาโก จะไม่ได้ขึ้นชื่อเท่ากับ ย่านบร็องซ์ ที่พวกเขาก็สร้างนักชกอย่าง โทนี่ ซาเล เจ้าของฉายา “แมน ออฟ สตีล” แชมป์โลกรุ่นมิดเดิลเวตในยุค 40s แต่ก็ยังมียอดมวยมากมาย ที่เกิด โตและเป็นความภาคภูมิใจ ของเมืองชิคาโก เช่น เออร์นี่ เทอร์เรลล์, แจ็คกี้ ฟิลด์ส, เอ็ดดี้ เพอร์กินส์, จอห์นนี่ โคลอน หรือแม้แต่กระทั่งเจ้าของรางวัลนวมทองอย่าง แฮโรลด์ เดด ก็เกิดและโตที่ชิคาโกเช่นกัน

นักมวยที่ออกหมัดเร็วที่สุดในโลก

สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ เหล่ายอดมวยจากชิคาโกนั้น ส่วนใหญ่เป็นนักมวยรุ่นเก่า ที่เราจะเคยเห็นในทีวีขาวดำทั้งนั้น ทว่าชิคาโกกลับขาดยอดมวย ในยุค 70s เป็นต้นมา นั่นถึงทำให้ เมืองชิคาโก ไม่ได้เป็นภาพจำในฐานะ บ้านของแชมป์ เท่าไหร่ อีกทั้งในยุคหลังมานี้ ความนิยมในการเป็นนักมวย ตามรอยคนรุ่นเก่า ก็ลดน้อยลงไป เพราะมีกระแสจากบาสเกตบอล ที่กำลังมาแรงแซงโค้ง อย่าง NBA อย่าง ชิคาโก บูลส์ ในยุค 90 นำโดย “GOAT” อย่าง ไมเคิล จอร์แดน ที่ทำให้ ชิคาโก กลายเป็นที่รู้จักของคนทั้งโลกนั่นเอง

อย่างไรก็ดี ยังมีเด็ก ๆ ในชิคาโก หลายคนที่ยังมีความฝันอยาก ที่จะเป็นนักมวยไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องเพราะเมืองชิคาโก ถูกเรียกว่าเมืองแห่งการแข่งขัน หรือถูกเรียกว่า คนญี่ปุ่นแห่งอเมริกาเหนือ เหตุก็มาจากการที่มีเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนเมืองถูกทำลายไปครึ่งเมือง คนที่นั่นจึงต้องสร้างเมืองกันใหม่อย่างแข็งขัน และถูกจัดระเบียบเมืองขึ้นมาใหม่ โดยมีการแบ่งโซนอย่างชัดเจน และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไม ทางตอนใต้ของชิคาโก ถึงกลายเป็นถื่นคนดำ ที่รวมตัวกันขึ้น จะกลายเป็นสังคมใหญ่ และกลายเป็นเจ้าถื่น ในย่านนั้น ๆ ซึ่งหลาย ๆ คนอยากที่จะเป็นนักมวย

“มวยคือโอกาสที่ทำให้เราได้ออกจากที่นี่ การเติบโตในชิคาโก ทำให้คุณเห็นการซื้อขายยาเสพติด การโจมตีกันระหว่างแก๊ง ถ้าคุณไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของภาพชินตาเหล่านี้ คำตอบของคุณคือ ชกมวย” เด็กหนุ่มวัย 15 ปี ชาวชิคาโกคนหนึ่ง กล่าวในสารคดีเรื่อง “A Fighting Chance” ซึ่งเป็นสารคดีที่ว่าด้วยวัฒนธรรมของการชกมวยในเมืองชิคาโก

ชิคาโก เป็นเมืองที่มีลมหายใจ แห่งการต่อสู้ มีโรงยิมรองรับนักมวยมากมายทั่วทั้งเมือง บางทีเปิดให้ใช้แบบไม่คิดเงินด้วยซ้ำ โดยเฉพาะในปลายยุค 90s มีหลายหน่วยงานเข้ามา เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชน พวกเขาใช้กีฬาเป็นที่ดึงเด็ก ๆ ออกจากความรุนแรง โดยให้เข้ามา เล่นมวย และสุดท้าย ถ้าโชคดีก็อาจได้เป็นยอดมวยหรือเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กรุ่นต่อไป ซึ่ง คีธ ลิดเดลล์ ก็คือ 1 ในนั้น

ความตั้งใจเดียวของ คีธ ลิดเดลล์ คือการไต่เต้าพาตัวเองขึ้นไปเป็นเส้นทางยอดมวย

ชิคาโก ได้รับฉายาว่าเป็น “เมืองแห่งสายลม” เพราะเป็นเมืองที่มีลมพัดจากทะเลสาบมิชิแกนตลอดเวลา และในขณะเดียวกัน สายลมนี้เองที่ทำให้ คีธ ลิดเดลล์ ลืมตาตื่นแต่เช้าทุกวันออกมาวิ่งวอร์มร่างกายก่อนฟ้าจะสว่าง และหลังกินข้าวเช้าเสร็จเขาจะออกไปซ้อมมวยทันที

ความตั้งใจของ คีธ ลิดเดลล์ คือการไต่เต้าพาตัวเองขึ้นไปเป็นยอดมวย โดยปกติแล้ว เส้นทางจะเริ่มจากการเป็นนักมวยในระดับเยาวชน เริ่มชกในแบบมวยสากลสมัครเล่น คัดตัวเข้าทีมชาติ ไปชกในโอลิมปิก และสุดท้ายก็เทิร์นโปรเป็นนักชกอาชีพ นี่คือเส้นทางที่นักมวยระดับโลกแทบทุกคนเคยผ่านมาทั้งสิ้น และ คีธ ก็มั่นใจว่าเขาจะสามารถทำเช่นนั้นได้

ในระดับเยาวชน คีธ เป็นเด็กระดับหัวแถวของรัฐอิลลินอยส์ เขาคว้าแชมป์ของรัฐในระดับเยาวชนมาแล้ว ความเก่งกาจเล่าลือเกี่ยวกับเด็กที่ชื่อว่า คีธ ลิดเดลล์ คือ เด็กหนุ่มที่ออกหมัดได้ไวกว่าการกระพริบตา คือจุดเด่นที่ทำให้เขาเอาดีบนเส้นมวยได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมาถึงในช่วงปี 2006 ที่เริ่มมีการคัดตัวนักชกระดับสมัครเล่น เพื่อติดทีมชาติสหรัฐอเมริกา ไปแข่งโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2008 ที่กรุง ปักกิ่ง ประเทศจีน คีธ ก็เข้าร่วม ด้วยความเก่งกาจ เรื่องหมัดความเร็วแสงที่หลายคนกล่าวถึง ทำให้ใครต่อใครต่างบอกว่า “เขาจะได้ไปโอลิมปิกแน่นอน”

นักมวยที่ออกหมัดเร็วที่สุดในโลก

ทว่าชีวิตคนบทจะหมดดวง มันก็ดวงกุดไปแบบไม่น่าเชื่อ เมื่อ คีธ ผ่านรอบคัดตัวมาจนถึงเกือบรอบสุดท้าย แต่ก่อนจะขึ้นชกคัดตัวติดทีมชาติไม่กี่วัน เขาเกิดอาการไส้เลื่อนอักเสบอย่างกระทันหัน จนต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที ทำให้ความฝันในการไปโอลิมปิกครั้งแรกของเขาจบลง

4 ปีที่พยายามมาแทบสูญเปล่า นั่นทำให้สภาพจิตใจของเขาย่ำแย่มาก และโค้ชของเขาที่ชื่อว่า แลร์รี่ แทงค์สัน ต้องการปลอบประโลมให้เขามีเป้าหมายต่อไป แม้จะไม่ได้ไปโอลิมปีก แต่ก็ยังสามารถเป็นที่ 1 ของโลกได้ในสิ่งที่เขาโดดเด่นที่สุด นั่นคือ “การเป็นเจ้าแห่งหมัดความเร็วแสง”

การเป็นเจ้าแห่งหมัดความเร็วแสง เส้นทางใหม่ที่เขาเลือก

แม้จะเป็นเป้าหมายสั้น ๆ ที่โค้ชส่วนตัวเสนอ แต่สำหรับ คีธ ลิดเดลล์ การทำลายสถิติโลกในหมวดหมู่การปล่อยหมัดที่เร็วที่สุดในโลก ทำให้เขามีแพสชั่นเป็นพิเศษ รู้ตัวอีกทีเขาก็กลายเป็นคนบ้าเรื่องการวิเคราะห์ และการหาวิธีทำลายสถิติอย่างจริงจังไปเสียแล้ว

“ชิคาโก ต้องเป็นเมืองของคนมีแฮนด์สปีดสูงที่สุดในโลก นั่นคือสิ่งที่ผมต้องการให้คนอื่น ๆ เห็น” เขากล่าวกับ Chicago Tribune

“ผมมีทีมงานวิเคราะห์เป็นของตัวเอง พวกเขาทำงานหนักและส่งบททดสอบมากมายให้ผมทำ หมัดที่ปล่อยออกไปจะแค่เร็วอย่างเดียวไม่ได้ ต้องหนักและเข้าเป้าด้วย”

คีธ ใช้เวลาไป 1 ปีเต็ม ๆ กับการไล่หวดกระสอบทราย แบบวัดความเร็วและความแม่นยำ ในขณะที่ โอลิมปิก 2008 จบลงไปนานแล้ว แต่ คีธ ลิดเดลล์ ยังคงทำงานหนักในแบบของตัวเอง เมื่อเวลาผ่านไป หมัดที่เคยเร็วและแรงเป็นทุนเดิมก็เร็วยิ่งขึ้นไปอีกจนหลายคนคิดว่า “พร้อมแล้วสำหรับสถิติโลก”

“เรามีถุงที่คล้ายกับโล่ถุงหนึ่งที่เอาไว้ใช้คอยรับหมัดแย็บของผม โดยมี แทงค์สัน จับถุงนั้นอยู่ด้านหลัง จนกระทั่งวันหนึ่งเขาบอกว่าพอแล้ว ได้ที่แล้วล่ะ เพราะเขารู้สึกว่าเหมือนกับแขนเขาจะหัก นั่นแสดงว่ามันเร็วและแรงขึ้นจนพร้อมสำหรับการทำลายสถิติโลก”

หลังจากทุกอย่างพร้อม คีธ และทีมงานก็เชิญผู้บันทึกสถิติจาก กินเนสส์ บุค มาเฝ้าดูการทดสอบของ คีธ ลิดเดลล์ ซึ่งแน่นอนว่า การฝึกต่อยเร็ว ๆ อย่างเดียวมาเป็นปี ๆ มีหรือที่จะทำไม่ได้ คีธ ถอยไกลจากระยะทดสอบราว 2 เมตร จากนั้นก็เหวี่ยงหมัดดังเปรี้ยง ! เครื่องจับความเร็วจับได้ที่ 44 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือเท่ากับ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายสถิติเดิมอย่างเป็นเอกฉันท์ เขาพาสถิติโลกกลับสู่ “เมืองแห่งสายลม” เรียบร้อย

ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : ดูบอล123 UFABET

อ่านเพิ่มเติม => มวยสากลสมัครเล่น