ดราม่ามวยไทย วิเคราะห์เหตุผลทำไมมวยไทยถึงยังไม่ไปถึงระดับโลก
ดราม่ามวยไทย หลังจากที่มีข่าวเกิดเหตุวุ่นวายใน วงการมวยไทย เมื่อเหล่าเซียนมวยกรูกันขึ้นไปบน เวทีมวยราชดำเนิน และขอให้กรรมการเปลี่ยนคำตัดสิน จนเกิดการชุลมุนขึ้น หลังจบการแข่งขันในศึกเพชรยินดี รอบ ‘รองคู่เอก’ ระหว่าง แป๊ะยิ้ม ป.จิรกิตติ์ (ฝ่ายแดง) ปะทะ กระดูกเหล็ก อ.อัจฉริยะ (ฝ่ายน้ำเงิน) ที่กรรมการรวมคะแนนให้ฝ่ายแดงชนะไป 2 ต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ตรงกับการเปิดราคาต่อรองระหว่างชกตามความเห็นของกลุ่มเซียนมวย
กลายเป็นว่าเซียนมวยบางส่วนก็ขึ้นไปบนเวทีแล้วคัดค้านผลตัดสินของกรรม แม้ว่านักมวยฝ่ายหนึ่งจะแพ้ไปอย่างคาดซ้ายตาแบบจริง ๆ ซึ่งมีข่าวอยู่แบบนี้เรื่อย ๆ เพราะ ‘มวยไทย’ ยังคงเป็นกีฬาที่ใช้ ‘สายตา’ เป็นผู้ตัดสิน ต้องยอมรับว่า เกณฑ์การตัดสินหรือการให้คะแนนของแต่ละเวทีก็ไม่เหมือนกัน จึงยากที่จะบอกว่า ‘มาตรฐาน’ อยู่ตรงไหน
แต่การไปทำร้ายกรรมการผู้ตัดสิน หรือขึ้นเวทีไปกดดันจนเปลี่ยนคำตัดสิน นั้นเป็นการกระทำที่ส่งผลเสียหายร้ายแรงมาก เพราะมันกระทบต่อความน่าเชื่อถือของมวยไทย ซึ่งปัจจุบันก็มีน้อยมากอยู่แล้ว การที่มีคนไปทำร้ายกรรมการได้ บุกขึ้นไปบนเวทีได้ เปลี่ยนคำตัดสินได้ มันไม่ใช่เรื่องที่ควรยอมรับได้ในการจัดแข่งขันกีฬา
หากเรามาถอดบทเรียนกัน ก็จะเห็นว่า ความเสียใหญ่โต เกิดจากความหละหลวมเล็กน้อย ๆ หลายจุด
ปัญหาของวงการมวยไทยจริง ๆ แล้ว ดราม่ามวยไทย มาจากปัญหาเล็ก ๆ หลายจุด ที่ใครหลายคนมองข้าม
หากพูดให้เห็นภาพ เปรียบเทียบมวยไทยเป็นเหมือนรถยนต์คันหนึ่ง วงการมวยไทยก็เหมือนรถยนต์เก่า ๆ ที่พอเราลองไปเช็คดูตรงส่วนไหน ก็จะพบกับสภาพความเสียหาย น็อตหลวม ถังน้ำมันรั่ว มีเสียงดังเตือน มีไฟเตือนจากตรงนั้นที ตรงนี้ที หลายจุด ทว่าเจ้าของรถก็ยังมองว่ามันไมไ่ด้เสียหายมาก แค่เป้นจุดเล้กน้อยเท่านั้น ให้ใช้ ๆ ไปก่อน เดี๋ยวค่อยซ่อมวันหลัง ซึ่งความเสียดายที่สะสมมามากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พอวันนึงรถยนต์เกิดพัง ก็ยากที่จะซ่อมได้
การพนันในเวทีราชดำเนินนั้นถูกกฎหมาย ลูกค้าต่างชาติส่วนใหญ่เป็นขาจร ส่วนกลุ่มคนไทยที่มาดูมวยติดขอบเวทีส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ คือกลุ่ม เซียนมวย คนพวกนี้จะมีอีกสถานะคือ เป็นโต๊ะพนัน ซึ่งเข้ามาเพื่อทำราคาต่อรอง
ดังนั้น กลุ่มเซียนมวยเป็นกลุ่มที่เข้าทุกเวทีทุกวัน มาที่สนามจนสนิทสนมกันหมด สนิทกับโปรโมเตอร์ สนิทกับเจ้าของค่ายใหญ่ ๆ สนิทกับเจ้าหน้าที่สนาม รวมถึงทีมรักษาความปลอดภัย
พอกลายเป็นคนคุ้นหน้าสนิทกัน ก็กลายเป็นว่าดูเหมือนจะเป็นกลุ่มที่ไม่สร้างภัยคุกคามใด ๆ โดยไม่ต้องถูกเพ่งเล็งว่าจะก่อเรื่อง ไม่จำเป็นต้องถูกควบคุม และยังเดินไปทุกที่ตามต้องการ เพราะไม่มีใครคิดว่าพวกเขาจะก่อเรื่องอะไรคนกันเอง
แต่ในทางกลับกัน ความสนิทสนมของกลุ่มเซียนมวย ทำให้บางคนก็ไม่เกรงใจผู้จัด และไม่เกรงใจเจ้าของค่ายมวย สามารถเดินไปไหนมาได้อย่างอิสระ จนเกิดเหตุบุกขึ้นไปทำร้ายกรรมการได้ แถมยังขึ้นไปบนเวทีได้อีก
ส่วนอีกประเด็นก็คือ หัวหน้าค่าย ซึ่งเป็นผู้เริ่มจุดประกายไฟจนเหตุการณ์นี้บานปลาย เมื่อเขาไม่พอใจผลการตัดสิน จึงบุกเข้าไปถึงที่นั่งของกรรมการเพื่อขอดูใบคะแนน แต่กรรมการไม่ให้ดู จึงบันดาลโทสะชกใส่ ทำให้กลุ่มเซียนมวยซึ่งสนิทสนมกันเข้ามา ช่วยผสมโรง บุกขึ้นไปประท้วงบนเวทีอีก
ส่วนการตัดสินใจ ยกเลิกคำตัดสิน ของประธานเทคนิค ก็เป็นน็อตที่หลวมอีกตัวหนึ่ง เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ระบบรักษาความปลอดภัยในสนามไม่สามารถทำงานได้ไปแล้ว พอประธานเทคนิคถูกกดดันเข้า ก็จำเป็นต้องตัดสินใจยอมตามคำประท้วง เพราะนอกจากจะถูกกดดันจากเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง
แรงกดดันทางธุรกิจ เป็นเงาที่ไล่หลังตามวงการมวยไทย
ถ้าไม่นับกลุ่มเซียนมวย ไม่นับเรื่องเงินจากการพนัน หากนับเฉพาะโปรโมเตอร์ ค่ายมวย นักมวย ทุกวันนี้ มวยไทยอยู่ได้ด้วยรายได้จากการถ่ายทอดสดทั้งนั้น การจัดมวยแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งสวนทางกับค่าตั๋ว เพราะคนไทยที่เข้าสนามมวยมีแต่กลุ่มเซียนมวยเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มเดิม เท่าเดิม ไม่มีแฟนมวยหน้าใหม่
วงการมวยไทยจึงไม่มีรายได้มากนักจากค่าตั๋วเข้าสนาม รายได้หลัก มาจากส่วนแบ่งค่าโฆษณา จากการถ่ายทอดทางทีวี เป็นรายได้ที่ทำให้พอจะเลี้ยงนักมวยได้ และทำให้พอมีเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในค่าย และทำให้โปรโมเตอร์ผู้จัดมวยไม่ขาดทุนในการจัดแต่ละครั้ง
มวยตู้ เป็นทางรอดเดียวของอุตสาหกรรมมวยไทย การถ่ายทอดสด จึงป็นภารกิจหลัก ดูเหมือนว่ามวยไทยจะเป็นธุรกิจที่อยู่ในภาวะซบเซา และมีจุดเปราะบางมากมายหลายจุด ถ้าสำรวจจากอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลจะพบว่า การถ่ายทอดมวย ถือว่าเป็นคอนเทนต์ที่ช่วยเพิ่มค่าเฉลี่ยผู้ชมให้กับสถานีโทรทัศน์ได้มากพอสมควร จึงพบว่า มีรายการมวยถูกถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เกือบทุกวัน จึงเรียกว่า มวยตู้ ที่สมัยก่อน โทรทัศน์จะมีขนาดใหญ่คล้าย ๆ ตู้
- วันพุธ – ศึกมวยไทยกลุ่มพลังใหม่ – เวทีราชดำเนิน – ช่อง JKN18
- วันพฤหัสบดี – ศึกเพชรยินดี – เวทีราชดำเนิน – ช่อง TRUE4YOU / เพจมวยเด็ด789
- วันศุกร์ – ศึกมวยมันส์วันศุกร์ – สนามมวยรังสิต – ช่อง TRUE4YOU / เพจมวยเด็ด789
- วันศุกร์ – ศึกมวยไทยFighter x – เวทีธูปะเตมีย์ – ช่องJNK18
- วันเสาร์ – ศึกจ้าวมวยไทย – เวทีอ้อมน้อย – ช่อง 33
- วันเสาร์ – ศึกจิตรเมืองนนท์ – เวที อตก.นนทบุรี – ช่อง 5
- วันเสาร์ – ศึกท่อน้ำไทย – เวที ส.สละชีพ – ช่อง PPTVHD36
- วันเสาร์ – ศึกเกียรติเพชร + โกสปอร์ต – เวที ส.สละชีพ – ทางเว็บไซต์
- วันอาทิตย์ – มวยดีวิถีไทย – เวที อตก3 – ช่อง PPTVHD36
- วันอาทิตย์ – มวยไทย 7 สี – เวทีมวย 7 สี – ช่อง 7HD
- วันอาทิตย์ – ซ้างมวยไทยเกียรติเพชร – เวทีราชดำเนิน – ช่อง AmarinTV 34
- และวันจันทร์ กำลังจะมีเพิ่มอีก 1 รายการ ที่เวทีราชดำเนิน
รายการมวย เป็นรายการทีวี พร้อมจะนำมาถ่ายทอด เพราะมีเรตติ้งสูง แต่ใช้ต้นทุนไม่มากนักเมื่อเทียบกับถ่ายทอดสดในรูปแบบอื่น หรือเมื่อเทียบกับคอนเทนต์อื่น ๆ ยิ่งมวยไทยมีฐานคนดูอยู่ในส่วนภูมิภาคเป็นฐานใหญ่ รายการมวยส่วนใหญ่จะเสนอขอเช่าเวลาเพื่อถ่ายทอดมายังสถานีโทรทัศน์เอง มีทีมถ่ายทอดสดพร้อมอยู่แล้ว ทางสถานีจึงทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับสัญญาณมาถ่ายทอดเท่านั้น
จากนั้นสถานีโทรทัศน์ ก็จะดำเนินการหาสปอนเซอร์มาสนับสนุนรายการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าในต่างจังหวัด เช่น รถกระบะ อุปกรณ์การเกษตร เครื่องดื่มชูกำลัง ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ฯลฯ โดยทางสถานีก็จะแบ่งรายได้จากค่าโฆษณาแบบ time sharing กับทางโปรโมเตอร์ผู้จัดมวย
ซึ่งถ้าไม่นับเม็ดเงินในวงการพนันจะพบว่าเม็ดเงินที่เกิดขึ้นในวงการมวยไทย จะมีเช่นนี้
- นักมวย – ได้ค่าตัวในแต่ละไฟต์ที่ขึ้นชก, เงินอัดฉีดจากเซียนมวยที่ลงเดิมพัน และเงินรางวัลจากสปอนเซอร์ในมวยรอบ
- ค่ายมวย – ส่วนแบ่งจากค่าตัวของนักมวย, ส่วนแบ่งจากเงินรางวัล
- โปรโมเตอร์ – ค่าตั๋วเข้าชมในสนาม, ส่วนแบ่งรายได้จากค่าโฆษณาทางทีวี
จะเห็นได้ว่า รายได้ค่าโฆษณาทางทีวีถือเป็น ‘ปัจจัยหลัก’ ที่ทำให้ธุรกิจมวยไทยยังสามารถดำรงอยู่ได้ การชกทุกครั้ง ยังต้องถูกถ่ายทอดทางทีวีเป็น เพราะกลุ่มคนดูส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เซียนมวย ดูมวยไทยผ่านทางทีวี
และนั่นทำให้เห็นว่าแม้มวยไทยจะมีปัญหากับการชกในสนาม แต่ยังมี ‘ราคา’ มากพอสำหรับการถ่ายทอดสด ทำให้ยังมีสินค้าต่างๆ พร้อมจ่ายเงินสนับสนุน
มาตรฐานการตัดสินที่ไม่มีความชัดเจน ยังยากจะไปสู่ระดับสากล
แม้ว่าหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของกรรมการ จนทำให้เกิดการแปลงคำตัดสิน แต่มาตรฐานของการตัดสิน ก็ยังเป็นประเด็นสำคัญที่สุด เพราะว่าปัญหาเรื้อรังของ กีฬามวยไทย ยังมีอยู่และยากจะไปสู่ความเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพราะนอกจากจะเป็นกีฬาที่ยังคงใช้ ‘สายตาของกรรมการ’ เป็นเครื่องมือในการตัดสิน ยังมีความจริงที่ต้องยอมรับด้วยว่า วิธีการมองผู้ชนะ ของแต่ละเวที ก็ให้บรรทัดฐานที่ต่างกัน
ดังนั้นหากว่าวงการมวยไทยต้องการที่จะยกระดับไปถึงระดับสากล จะต้องจัดการกับปัญหาที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเสียก่อน
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : อนิเมะ , แทงบอลโลก
อ่านเพิ่มเติม => ชาตรี ศิษย์ยอดธง