กุนขแมร์

กุนขแมร์ ทำไมกัมพูชาถึงไม่ยอมใช่ชื่อกีฬา มวยไทย ในซีเกมส์ 2023 ครั้งนี้?

กลายเป็นประเด็นดราม่าเกิดขึ้น เมื่อกัมพูชาผู้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ 2023 และยืนยันว่าจะไม่มีการบรรจุกีฬามวยไทยไว้ในการแข่งขัน แต่จะใช้ชื่อเป็น “กุนขแมร์” หรือ (Kun Khmer) แทน แน่นอนว่าทางประเทศไทยก็เองก็ไม่ยอมรับเรื่องนี้เหมือนกัน ด้วยการไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมในซีเกมส์ครั้งนี้ เกี่ยวเนื่องมาจากเรื่องที่ว่า กัมพูชา อ้างว่า กุนขแมร์ คือศิลปะการป้องกันตัวของชาติเขา

โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่า กุนขแมร์ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา มีความคล้ายหรือเหมือนกับ มวยไทย อย่างไรบ้าง เชื่อชาวไทยหลายคนคงจะสงสัยเหมือนกันว่า กุนขแมร์ เหมือนกับมวยไทยหรือไม่? และทำไมกัมพูชาถึงทำเช่นนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ สหพันธ์มวยไทยนานาชาติ (IFMA) ก็ประกาศยืนยันชัดเจนว่า กีฬามวยไทยและคิกบ็อกซิ่งในซีเกมส์จะต้องใช้ชื่อ “มวย” เท่านั้น

พร้อมประกาศย้ำด้วยว่า หากชาติใดส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันรายการดังกล่าวก็จะถูกแบนจากแมตช์ที่ อีฟม่า รับรอง ซึ่งความคืบหน้าล่าสุดนั้น มีเพียง 3 ชาติที่ยืนยันว่าจะส่งนักกีฬาร่วมแข่งขัน กุน ขแมร์ ในซีเกมส์ครั้งนี้ ได้แก่ กัมพูชา (เจ้าภาพ) ลาว และ เมียนมา อย่างไรก็ตาม ตามกฎของสหพันธ์ซีเกมส์แล้วนั้น กีฬาแต่ละชนิดจะต้องมีประเทศเข้าร่วมแข่งอย่างน้อย 4 ชาติ

ซึ่งต้องรอดูต่อไปว่า มวยเขมร จะได้จัดการแข่งขันในซีเกมส์ครั้งนี้ได้หรือไม่ ทั้งนี้ มวยไทย ถูกบรรจุในมหกรรมกีฬาซีเกมส์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.2005 โดยชาติที่อนุมัติคือ ประเทศฟิลิปปินส์ เจ้าภาพาซีเกมส์ในครั้งนั้น โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า “Muay Thai” (มวยไทย)

กุนขแมร์

กุนขแมร์ คืออะไร ประวัติความเป็นมาของมวยขเมร

กุนขแมร์เป็นกีฬาศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา มีชื่อทางการว่า “Kbach Kun Pradal Khamm” ซึ่งหมายถึง การต่อสู้อย่างอิสระ เป็น กุนขแมร์ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา ท่ายืนโดยมีเป้าหมายเพื่อน็อกคู่ต่อสู้ บีบให้ยอมแพ้หรือการชนะคะแนน โดยใช้อวัยวะ 4 อย่างเป็นอาวุธในการต่อสู้ ประกอบด้วย หมัด เท้า เข่า ศอก

โดยนักสู้ชาวกัมพูชามักจะใช้ศอกโจมตีมากกว่าศิลปะการต่อสู้อื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ กุนขแมร์ประวัติ ต้องพาย้อนกับไปในอดีตกาล ความจริงแล้ว มวยขเมร มีมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรขอม เป็นการต่อสู้ที่ใช้ในกองทหารของอาณาจักร มีรากฐานมาจากการต่อสู้แบบประชิดตัว จากหลักฐานในภาพนูนต่ำและนูนสูงตามปราสาทหินต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่ามีรูปแบบคล้ายการต่อสู้ชนิดนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9

ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรขอมได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ กินพื้นที่ทั้งในกัมพูชา ลาว ไทย และบางส่วนของเวียดนาม ส่งผลให้กัมพูชามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยและลาว สิ่งนี้ทำให้ชาวเขมรยืนยันว่ารูปแบบการชกมวยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดเริ่มต้นจากชาวมอญ เขมร กุนขแมร์ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา ในยุคแรก ๆ นั่นเอง

รวมถึง มวยไทย ที่ชาวขเมรเชื่อว่าเป็นการต่อสู้ที่มีรากฐานมาจาก มวยเขมร ด้วย กุนขแมร์ แบบดั้งเดิม เป็นการต่อสู้ในหลุมดิน มือถูกพันด้วยเชือก หรือที่เรียกว่า คาดเชือก บางครั้งมีการนำเปลือกหอยมาพันรอบข้อนิ้วเพื่อเพิ่มการบาดเจ็บให้คู่ต่อสู้ และการต่อสู้กันจนถึงแก่ความตายก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับการต่อสู้แบบนี้

ต่อมาในยุคล่าอาณานิคม ศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ประเทศจากยุโรปมองว่าเป็นสิ่งโหดร้ายและไร้อารยธรรม ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศสพยายามเปลี่ยนศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ให้กลายเป็นกีฬาโดยเพิ่มกติกาบางอย่างเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการจับเวลา แบ่งการแข่งขันเป็นยก และสู้ในเวทีมวยแบบตะวันตกเพื่อลดอาการบาดเจ็บ

ต่อมากัมพูชาได้พยายามที่จะฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมกลับคืนมาอีกครั้ง กุนขแมร์ ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาด้วย กุนขแมร์ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา ได้เริ่มมีการตั้งโรงยิมขึ้นเพื่อฝึกฝนอย่างจริงจัง และพัฒนามาสู่การมีนักสู้ต่างชาติเข้ามาเรียนรู้ รวมถึงจัดตั้งการแข่งขันทุก ๆ สัปดาห์ ขยายไปสู่การแข่งขันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

กติกาของกุนขแมร์ แตกต่างจาก มวยไทย หรือไม่?

ปัจจุบัน กุนขแมร์ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา ถูกควบคุมโดยสหพันธ์มวยกัมพูชา (CBF) ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1961 โดยผู้ตัดสินและนักมวยทุกคนต้องมีการขึ้นทะเบียนอนุญาตจาก CBF สถานีโทรทัศน์ที่จัดการแข่งขันมวยก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของ CBF ในส่วนของ รูปแบบการแข่งขันในปัจจุบัน จะมีการกำหนดการชก 5 ยก (ยกละ 3 นาที) และและจะมีการพักระหว่าง 1 นาทีครึ่งถึง 2 นาที ส่วนกฏ กติกานั้น คือการใช้ศิลปะการต่อสู้ หมัด เท้า เข่า ศอก โดยห้ามชกเมื่อคู่ต่อสู้ล้มลงกับพื้น

ห้ามกัด ไม่อนุญาตให้ทำร้ายด้านหลังของฝ่ายตรงข้าม ห้ามจับเชือกหรือเกี่ยวเชือก ห้ามต่อยที่จุดยุทธศาสตร์ของนักมวย การน็อกเอาต์เกิดขึ้นเมื่อนักมวยล้มลงกับพื้นและไม่สามารถชกต่อไปได้หลังจากกรรมการนับ 1-10 หรือ กรรมการสามารถยุติการชกได้ทันที หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถสู้ได้ สุดท้ายหากสู้กันครบ 5 ยกจะตัดสินด้วยคะแนน กรณีไม่มีการน็อกเกิดขึ้น

สรุปได้ว่า มวยเขมร มีกติกาที่แทบจะเหมือนกับ มวยไทย อย่างมาก ต่างกันที่รูปแบบ สไตล์ หรือลักษณะการต่อสู้ของนักมวยแต่ละคนเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ฝั่งไทย โดยสมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้เด็ดขาด เพราะที่ผ่านมาในซีเกมส์มีการตกลงกันไว้แล้วว่าให้ใช้ชื่อ “มวย”

ปธ.มวยลาว ยืนข้างกุนขแมร์ ชี้ชัดมวยไทยคือของปลอม กุนขแมร์ยูเนสโกยอมรับ 

สายสะหมอน ไซยะสอน ประธานสหพันธ์มวยลาว รองประธานมวยกุนขแมร์สากล ได้ตั้งโต๊ะแถลงว่า สปป.ลาว จะส่งนักกีฬาลงแข่งกุนขแมร์ 6 รุ่น ในซีเกมส์ครังที่ 32 ที่กัมพูชา ร่วมกับอีก 5 ประเทศ โดยลาวจะส่งลงแข่ง มวยเขมร ทั้งสิ้น 6 รุ่น แบ่งเป็นนักมวยชาย 4 รุ่น และนักมวยหญิง 2 รุ่น และคาดว่านักมวยจากลาวจะสามารถชิงชัยได้เหรียญทองกีฬา กุนขแมร์ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา อย่างน้อย 2 เหรียญ

เรื่องกลับบานปลาย เมื่อปธ.มวยลาวเเสดงความคิดเห็นถึงประเด็นต่าง ๆ ข้อคัดแย้งระหว่างกุนขแมร์และมวยไทย ผ่านยูทูบ I Box โดยระบุว่า แท้จริงแล้ว มวยลาว กับกุนแขมร์ คือศิลปะการต่อสู้แบบเดียวกัน

สมาคมมวยไทยนานาชาติ (IFMA) เป็นแค่ผู้จัดการแข่งขัน ไม่ใช่ผู้ลงทุนและไม่มีสิทธิ์มาแบนชาติต่าง ๆ ที่เข้าแข่งขันกุนแขมร์ ชาติต่าง ๆ ที่เข้าแข่งขันเป็นเพราะเน้นเรื่องความสามัคคีของ 11 ประเทศ ไม่เหมือนไทยที่เน้นแต่เรื่องธุรกิจและการลงทุน “ไทยจึงเป็นตัวปัญหาของเรื่องนี้”

หากมองเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจะพบว่า “โบกะตอหรือกุนขแมร์” ของกัมพูชา ได้รับการรับรองจากยูเนสโก แต่ของไทยกลับถูกปฏิเสธ ไม่รับรอง ก็ให้คิดเอาว่าใครเป็นของปลอม แถมยังว่าไทยเก่งเรื่องโปรโมต ไทยทำเพื่อหารายได้เท่านั้น

ย้อนรอยดราม่า มวยเขมร

กลายเป็นประเด็นร้อนต่อเนื่องนับตั้งแต่ กัมพูชา เจ้าภาพซีเกมส์ 2023 เตรียมเปลี่ยนชื่อการแข่งขันมวย หรือที่หลายชาติรับรู้กันว่าคือมวยไทย เป็นกุนขแมร์ โดยอ้างว่าชาติตนเป็นต้นกำเนิด กุนขแมร์ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจ คือการที่ บัวขาว บัญชาเมฆ นักมวยไทยชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ยืนยันว่าตัวเองนั้นคือคนไทยเชื้อสายกูย หรือ ชาวส่วย (Suai) ไม่ใช่เขมร ตามที่ชาวกัมพูชาที่มาป่วนในเพจของตัวเอง นอกจากนี้ชาวเน็ตยังมีการงัดหลักฐานถึงการที่กัมพูชาได้นำ “ครูวู้ดดี้” ชินวุธ ศิริสัมพันธ์ ที่ทำหน้าที่ นายกสมาคมครูมวยไทย, ประธานองค์กรมวยไทยโลก (WMO),

ประธานสหพันธ์มวยไทยโบราณ ถูกดึงไปดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์กุน ขแมร์ ประจำประเทศไทย ทั้งที่เจ้าตัวได้ปฎิเสธไปแล้ว ในเวลาต่อมา ค่ายมวยกุนขแมร์ ได้นำรูปครุฑซึ่งมีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินไทยไปใช้ ทำให้ชาวโซเชียลต่างเข้าไปแสดงความเห็นในเชิงวิจารณ์ตำหนิค่ายมวยดังกล่าว และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างกระทรวงวัฒนธรรมเข้าไปจัดการปัญหานี้

ต่อมาคณะกรรมการโอลิมปิคไทยไม่ได้มีการขวางที่กัมพูชาใช้ชื่อกุนขแมร์ แต่ยืนยันจะไม่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันแน่นอน ซึ่งในการจัดแข่งครั้งนี้ นอกจาก กุนขแมร์ยังมีการบรรจุ คุน ละบ๊อกกาตาว (Lbokkator หรือ Bokator) มวยเขมร รุ่นเฉพาะที่ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไว้ชิงเหรียญทองด้วยเช่นกัน

ซึ่งบัวขาว ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น ในระหว่างไปร่วมเปิดตัวภาพยนตร์ Marvel Studios’ Ant-Man and The Wasp: Quantumania ถึงเรื่องว่าไม่ได้ซีเรียสอะไรหากทางกัมพูชาจะเปลี่ยนชื่อ เพราะเป็นสิทธิ์ ซึ่งมวยไทยถือเป็นเจ้าตำรับเบอร์หนึ่งอยู่แล้ว

แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่จบง่าย ๆ ล่าสุดมีประเด็นว่าทางกัมพูชา รองประธานกิตติมศักดิ์สหพันธ์มวยกัมพูชา ได้ออกมาบอกว่า หากนักมวยขเมรคนใดล้มบัวขาวได้นั้นจะมีการมอบเงินพร้อมบ้าน รถ ให้นักมวยกัมพูชา จนกระทั่งบัวขาวออกมาโพสต์อีกครั้งถึงการทวงเงินค่าตัวที่ไปขึ้นชกในรายการ Worldfight tournament ว่ายังได้เงินไม่ครบขาดอีก 2.2 ล้านบาท

 

ติดตามเว็บไซต์ที่น่าสนใจ : หนังออนไลน์

อ่านเพิ่มเติม => นักมวยที่เก่งที่สุด