กีฬามวยไทย กีฬาภูมิปัญญาไทย คืออะไรและมีความเป็นมาอย่างไร 

กีฬามวยไทย คือศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นในด้านเทคนิคการต่อสู้[ ซึ่งจะมีการใช้ทั้งกายและใจสำหรับการต่อสู้ โดยใช้ร่างกายเป็นอาวุธ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็น “นวอาวุธ” ประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า ซึ่งหากนักสู้มีการเตรียมพร้อมด้านร่างกายอย่างดีจะก่อให้มีอานุภาพรุนแรงอย่างมาก

มวยไทย เป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ เป็นผลมาจากเหล่านักมวยไทย ที่สามารถเป็นฝ่ายชนะนักต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อเสียงในแขนงอื่น ซึ่งการแข่งขันมวยไทยในระดับอาชีพนั้น ปัจจุบันได้รับการดูแลโดยสภามวยไทยโลก

ปัจจุบัน ทางสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) มีแผนที่จะผลักดันกีฬามวยไทยเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก และใน พ.ศ. 2557 ทางองค์การสหประชาชาติได้ให้การยอมรับมวยไทยเป็นกีฬาแห่งประชาคมโลก โดยได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสภามวยไทยโลก และสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ

กีฬามวยไทย

จุดเริ่มต้น ประวัติความเป็นมาของ กีฬามวยไทย

มวยไทย เริ่มต้นขึ้นในสมัยใด ไม่ปรากฎแน่ชัด และไม่มีหนังสือตำราเล่มใดเขียนเอาไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ปรากฎให้เห็นกันมานั้น มวยไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว และเกิดขึ้นมาพร้อมกับชาติไทย เพราะมวยไทยคือศิลปะประจำชาติ ยากที่ประเทศอื่น ๆ จะลอกเลียนแบบได้

มวยไทยในสมัยก่อน เกิดขึ้นจากการฝึกฝนของบรรดาหมู่ทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยก่อน ที่ประเทศไทยได้มีการสู้รบทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีอาวุธประเภทปืน มีเพียงแต่ดาบสองมือ และดาบมือเดียว กับโล่ เมื่อเป็นเช่นนั้น การสู้รบก็จะเป็นไปในลักษณะต่อสู้แบบประชิดตัว คนไทยสมัยก่อนรบด้วยดาบ ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบระยะประชิด ด้วยเหตุนี้เองคนไทยจึงได้มีการฝึกหัดการถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อที่จะได้ทำให้เสียหลัก แล้วฟันดาบได้ง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้ง่ายขึ้น

ต่อมาเมื่อบรรดาทหารได้มีการฝึกถีบและเตะ มวยไทยจึงแทรกเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมไทย โดยเริ่มมีการนำวิชาการถีบและเตะมาเป็นศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นวิชาการฝึกหัดต่อสู้ป้องกันตัว หรือสำหรับใช้การแสดงเวลามีงานเทศกาลต่าง ๆ เอาไว้อวดชาวบ้าน ซึ่งในยุคนั้นมวยไทยนับว่าเป็นของแปลกสำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านหรือคนไทยที่ได้เห็นการถีบและเตะที่แพร่หลายบ่อยครั้งเข้า จึงทำให้ชาวบ้านก็มีการฝึกหัดมวยไทยกันมากขึ้น จนเริ่มมีการตั้งเป็นสำนักฝึก ทว่าสำนักฝึกมวยไทยนั้นก็ต้องเป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อน และมีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอนเช่นกัน

ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้นจึงฝึกเพื่อความหมาย 2 อย่างคือ

1. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก

2. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว

ในสมัยนั้นหากใครมีเพลงดาบดีและเก่งกาจทางการรบจะต้องเก่งมวยไทย เพราะเวลารบพุ่งต้องอาศัยมวยไทยเข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยโบราณจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะฝึกฝนไปพร้อมกับเพลงดาบและวิชามวยไทย เพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการเป็นทหารที่เก่งกาจสามารถ

แต่เมื่อพ้นจากหน้าสงคราม ก็จะมีการชกมวยเพื่อความสนุกสนาน กลายเป็น กีฬามวย และมีการ พนันมวย เกิดขึ้นมา เป็นการเดิมพันระหว่างยอดนักมวยจากหมู่บ้านหนึ่งกับยอดนักมวยอีกหมู่บ้านหนึ่ง มาชกกันในงานเทศกาล หรือเกิดมีการท้าทายขึ้นและมีการพนันขันต่อ มวยในสมัยนั้นชกกันด้วยหมัดเปล่า มิได้มีการคาดเชือกดั่งเช่นในสมัยอยุธยาตอนต้น

ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น คนไทยที่ทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติมากที่สุดคือ นายขนมต้ม ผู้ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทยต่อสู้กับนักมวยพม่าถึง 10 คน ซึ่งทุกคนแพ้นายขนมต้มหมด จนกษัตริย์พม่าพูดว่า “คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่าก็ยังมีพิษสงรอบตัว” นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนบิดาของวิชามวยไทย เพราะทำให้คนไทยมีชื่อเสียงเกี่ยวกับวิชามวยไทยเป็นอันมากในสมัยนั้น และชื่อเสียงก็ได้เลื่องลือมาจนถึงกับปัจจุบันนี้

มวยไทยมีการสืบทอดวิชากันมาตามสำนักฝึกต่าง ๆ และมีการฝึกกันอย่างกว้างขวาง จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น เวทีสวนเจ้าเชษฐและเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการชกมวยในสมัยนี้ก็ยังมีการคาดเชือกกันอยู่ จนตอนหลังนวมได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การชกกันในสมัยหลังๆจึงได้สวมนวมชก แต่การชกกันก็ยังเหมือนเดิมคือยังใช้การ ถีบ ชก ศอกและเข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

กีฬามวยไทย

หลักการชกมวยไทย

การชกมวยไทยที่ดี มีหลักสำคัญ คือ มีการป้องกันด้วยการยืนอย่างมั่นคง เข้มแข็งสูงเด่น ด้วยการตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย) และการเก็บคาง เปรียบเสมือนป้อมปราการ เท้าหน้า จรดชี้ไปข้างหน้าวางน้ำหนักครึ่งฝ่าเท้า เท้าหลัง วางทแยงเฉียงกว้างกว่าหัวไหล่วางน้ำหนักเศษหนึ่งส่วนสี่ไว้ที่อุ้งนิ้วหัวแม่โป้ง ขยับก้าวด้วยการลากเท้าหลังตามพร้อมที่จะหลอกล่อ ขยับเข้า ออก ตั้งรับและโจมตีตอบโต้ แขนหน้ายกกำขึ้นอย่างน้อยเสมอไหล่ หรือจรดสันแก้ม แขนหลังยกกำขึ้นจรดแก้ม ศอกทั้งสองข้างไม่กางออกและไม่แนบชิด ก้มหน้าเก็บคาง ตาเขม็งมองไปตรงหว่างอกของคู่ต้อสู้ พร้อมที่จะเห็นการเคลื่อนไหวทุกส่วน เพื่อที่จะรุก รับ หรือตอบโต้ด้วยแม่ไม้ ลูกไม้และการแจกลูกต่างๆ มีการเคลื่อนไหวที่องอาจมีจังหวะ มีการล่อหลอกและขู่ขวัญที่มีการเปรียบเทียบว่า “ประดุจพญาราชสีห์ และพญาคชสีห์” อาวุธมวยที่ออกไป ต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์แน่นอน (แต่มักซ้อนกลลวงไว้) มีการต่อสู้ระยะไกล (วงนอก) และระยะประชิด (วงใน) และมีทีเด็ดทีขาดในการพิชิตคู่ต่อสู้

แม่ไม้มวยไทย

แม่ไม้มวยไทยมี 15 ท่า ดังนี้: สลับฟันปลา(เดินมวยวงนอก), ปักษาแหวกรัง(เดินมวยวงใน), ชวาซัดหอก(ศอกวงนอก), อิเหนาแทงกฤช(ศอกวงใน), ยกเขาพระสุเมรุ(หมัดเสยวงนอก), ตาเถรค้ำฟัก(หมัดเสยวงใน), มอญยันหลัก(ถีบยัน), ปักลูกทอย(ศอกปักต้นขา), จระเข้ฟาดหาง(เตะเหวี่ยงฟาดกลับหลัง), หักงวงไอยรา(เข่าใต้ขา), นาคาบิดหาง(จับหักปลายเท้า), วิรุณหกกลับ(ถีบดักที่เข่า), ดับชวาลา(หมัดสอดทิ่มตรงเบ้าตา), ขุนยักษ์จับลิง(สอดแขนจับล็อคไพล่)และ หักคอเอราวัณ(โน้มคอตีเข่า)

แม่ไม้และลูกไม้มวยไทย ใช้สำหรับฝึกฝนการรุก การรับ ในการใช้จังหวะและอวัยวาวุธ ให้คล่องแคล่ว ทั้งวงนอก วงใน อันควรแก่การศึกษาเป็นแม่แบบ ที่รู้จักแพร่หลาย อาทิ จระเข้ฟาดหาง (หมุนตัวแล้วฟาดตวัดด้วยวงเท้าหลัง), เถรกวาดลาน (เตะกวาดล่างวงนอกรวบสองเท้าให้เสียหลัก), หนุมาณถวายแหวน (ชกหมัดตรง/หมัดเสยหรือหมัดเหวี่ยงข้างพร้อมกันสองมือ), มอญยันหลัก (ถีบลำตัวให้เสียหลัก), หักงวงไอยรา (เหยียบคู่ต่อสู้เพื่อยกตัวเตะตวัดก้านคอ), บั่นเศียรทศกัณฑ์ (เตะก้านคอ), ปักลูกทอย (ปักศอกลงตรงหน้าขาคูต่อสู้), มณโฑนั่งแทน (กระโดดขึ้นปักศอกลงกลางกระหม่อม), หิรัญม้วนแผ่นดิน (ศอกกลับ), พระรามเดินดง (เตะแล้วต่อยตามข้างเดียวกัน), มอญแทงกริช (ถองด้วยศอกบริเวณซี่โครงอ่อน), ฤๅษีบดยา (กระโดดปักศอกกลางศีรษะ), พุ่งหอกโมกขศักดิ์ (ตั้งศอกเหนือศีรษะพุ่งเข้าบริเวณใบหน้า),ไกรสรข้ามห้วย (กระทืบโค้งยันข้อพับขาอ่อน),ทะแยค้ำเสา (กระทืบยันบริเวณข้อหัวเข่า) ฯลฯ

ลูกไม้

มีทั้งลูกผสมและลูกแยก เพื่อใช้หลอกล่อและเผด็จศึก เช่น แตะตรงเตะ แตะถีบเตะ แตะตรงถีบเตะ การฝึกเตะ ได้แก่ เตะเฉียง เตะตัด เตะสลับ เตะช้อน เตะตวัด เตะสูง เตะสวาบ เตะพับนอกพับใน เตะคา เตะเขี่ยล่าง เตะกวาด กระโดดเตะ ตีลังกาเตะ การฝึกถีบ ได้แก่ ลูกถีบหน้า ถีบหลัง ถีบยัน ถีบค้ำ ถีบแป ถีบจิก ถีบโค้ง กระโดดถีบ การฝึกใช้ศอก ได้แก่ ลูกศอกตี ตัด งัด พุ่ง กระทุ้ง กลับ จูบศอกนอก จูบศอกใน ศอกคู่ ศอกปัก ศอกเฉียง ศอกเฉือน ขยี้ศอก กระโดดศอก การฝึกเข่า ได้แก่ ลูกเข่าน้อย เข่าลา เข่าโค้ง เข่าตี เข่ากระทุ้ง เข่าลอย เข่าแหลม เข่าคา เข่าแทง เข่าตรง เข่ายัดไส้ เข่าพุ่ง เข่าข้าง การฝึกหมัด ได้แก่ ลูกหมัดหน้า หมัดหลัง หมัดลัก หมัดอ้อม หมัดเกี่ยว หมัดสอย หมัดเสย หมัดสอด หมัดแหย่ หมัดค้ำ หมัดทะยาน หมัดคู่ หมัดรัว หมัดซ้ำ หมัดหนึ่งสอง หมัดชุดสามเหลี่ยม หมัดสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนที่ไม่เป็นอาวุธในการป้องกัน-สร้างจังหวะในการตอบโต้ เช่น การใช้ฝ่ามือในการบัง ปิด ปัด ดึง ดัน ผลัก โหน ค้ำ ขวาง กด ทุบ ตี ฟาด กระแทก และใช้เท้าในการเต้นในรูปแบบต่างๆ อาทิ ย่าง เหยาะ หย่ง กระทืบ กวาด หรือ การบัง ขวาง ขัด ค้ำ โล้ ข้าม คร่อม กระโดด ใช้หัวไหล่หรือลำตัวในการหลอกล่อ การทำลายจังหวะ ฯลฯ

สมัครสมาชิกเป็นครอบครัวกับเรา ที่ UFABET

บอกเลยว่าสำหรับขั้นตอน ในการสมัครสมาชิก นั้นสามารถทำได้ และสะดวกรวดเร็วมากที่สุด ใช้เวลาเพียงแค่ 3 นาทีในการสมัครสมาชิก ก็สามารถเข้าร่วมเล่นพนันออนไลน์ได้ทุกเกมส์ บนเว็บไซต์ของเราได้ทันที แถมยังมีโปรโมชั่นพิเศษ สำหรับลูกค้าใหม่ บอกเลยว่าคุ้มค่าสุดๆ

เล่นพนันผ่านเว็บไซต์ ที่ไม่ต้องดาวน์โหลดแอพให้ยุ่งยาก เล่นผ่านหน้าเว็บของเราได้ทันที ซึ่งรองรับทุกระบบ ไม่ว่าจะ iPhone หรือ Android ก็สามารถเล่นพนันกับเราได้ ไม่ต้อง เปลืองพื้น ที่ใน โทรศัพท์ของคุณ จึงทำให้เรานั้น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ข้อดีในการสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์ของเรา

อ่านเพิ่มเติม => กีฬามวยสากล

เว็บไซต์น่าสนใจ => UFABET , ดูบอล123