กติกา MMA ศิลปะการต่อสู้แบบผสม มวยกรง สังเวัยน 8 เหลี่ยม มีกฎข้อห้าม กติกา อะไรบ้าง
กติกา MMA ศิลปะการต่อสู้แบบผสม ชื่อเต็มอังกฤษ: Mixed martial art หรือแบบย่อ MMA คือ การต่อสู้ที่รวมเอาศิลปะการต่อสู้หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น มวยไทย มวยสากล ยูโด มวยปล้ำ คาราเต้ แซมโบ บราซิลเลี่ยน ยูยิสสู มีทั้งการเตะต่อย และ การทำให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้
ซึ่งศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบผสมผสาน ครั้งแรกที่ถ่ายทอดผ่านทีวี คือรายการ อัลติเมท ไฟต์ติง แชมเปียนชิพ (Ultimate Fighting Championship) หรือที่เรารู้จักอย่างคุ้นเคยดีในชื่อ UFC มีการถ่ายทอดครั้งที่ 1 ใน ค.ศ.1993
ในสมัยนั้นยังไม่กฎกติกาอะไรมากนัก ก่อนมีการปรับเปลี่ยนกฎกติกาต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในวงการกีฬา ฮอยส์ เกรซี่ ซึ่งเป็นแชมป์คนแรกของรายการ UFC เป็นนักสู้ชาวบราซิล จูจิสสึ (BJJ)
กติกาการแข่งขัน ได้มีการพัฒนาขึ้นตามยุคสมัยต่อมา เช่น มีการแข่งขันตามน้ำหนัก ผู้เข้าแข่งขันต้องมีการใส่ถุงมือนวม ใส่ฟันยาง มีการพักยก แพทย์สนามสั่งยุติแบบการแข่งขันมวย
ซึ่งการแข่งขันในแต่ละรายการต่าง ๆ กฎกติกาจะมีความคล้าย ๆ กัน บางที่ก็สามารถให้กระทืบคู่ต่อสูได้ เช่น รายการ Pride Fighting Championship ของประเทศญี่ปุ่น แต่ตอนนี้โดนาสั่งยุบไปแล้ว เพราะข่าวลือที่ว่า Pride FC ค้างเงิน ของพวกยากูซ่า
เกณฑ์การชั่งน้ำหนักของนักสู้มีอะไรบ้าง?
สำหรับไฟท์ทั่ว ๆ ไปในวันชั่งน้ำหนักของนักกีฬาในแต่ละพิกัดรุ่นต่าง ๆ จะสามารถมีน้ำหนักมาก หรือน้อยกว่า ที่กำหนดได้ไม่เกิน 1 ปอนด์ แต่หากเป็นกรณีไฟท์ชิงแชมป์ จะต้องมีพิกัดน้ำหนัก ที่พอดีขาดได้ แต่ห้ามเกิน
หากน้ำหนักที่ชั่งเกินกว่าเณฑ์ ที่มีการกำหนดไว้ นักกีฬาของ UFC จะมีเวลาพิเศษในการลดน้ำหนักเพิ่มอีก 1-2 ชั่วโมง และหากยังไม่สามารถทำน้ำหนักได้ตามพิกัดก็จะผลดังนี้คือ
1. ถูกปรับเงิน 20% จากค่าตัวในไฟท์นั้น โดยแบ่งเป็น 10% ให้คู่ต่อสู้ อีก 10% เข้าคณะกรรมการกีฬา
2. ในกรณีที่น้ำหนักเกินมากๆคู่ต่อสู้มีสิทธิ์ที่จะไม่สู้ก็ได้เช่นกันหากรู้สึกว่าเสียเปรียบ
3. หากเป็นไฟท์ชิงแชมป์ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไฟท์ปกติไม่มีเข็มขัดแชมป์เป็นเดิมพัน
ทั้งนี้ คณะกรรมการกีฬาเป็นผู้ถือสิทธิ์อนุญาต ให้มีการแข่งแบบ Catch Weight หรือสู้กันแบบต่างพิกัดรุ่น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความปลอดภัย ของนักกีฬา และความไม่ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน ของนักกีฬา จนเกินไป
กติกา MMA กฎกติกาและข้อห้าม ในกรงแปดเหลี่ยมมีอะไรบ้าง?
มีการต่อสู้กันทั้งหมด 3 ยก ยกละ 5 นาที สำหรับไฟท์ปกติ ในกรณีที่เป็นคู่เอกหรือคู่ชิงแชมป์สู้กันทั้งหมด 5 ยก ยกละ 5 นาที ในแต่ละยกพักได้ไม่เกิน 1 นาที
ทีมงานของนักกีฬาแต่ละฝั่ง สามารถเข้าไปในเวทีช่วงพักยกได้ 2 คน สามารถให้คำแนะนำ นวด ประคบน้ำแข็ง และให้น้ำดื่มกับนักกีฬาได้
เจ้าหน้าที่ Cutman จะคอยประคบบวม ดูแลบาดแผลให้นักสู้ และทาวาสลีนบริเวณใบหน้า เฉพาะที่คิ้วและแก้มเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ทาตามร่างกาย เพื่อเป็นการไม่ให้ร่างกายเกิดความลื่นจนคู่ต่อสู้อาจเสียเปรียบในการจับตัว mma fighters
ไม่อนุญาตให้นักกีฬาสวมเสื้อ หรือเครื่องประดับ และรองเท้าในระหว่างการแข่งขัน กางเกงว่ายน้ำทรง speedo หรือทรงกางเกงในซุปเปอร์แมน ไม่ถูกอนุญาตให้ใช้เช่นกัน สำหรับนักสู้หญิงสามารถใส่เสื้อได้แต่เป็นไปตามเกณฑ์ ที่คณะกรรมการกีฬากำหนดไว้
การต่อสู้จะมีข้อห้ามในระหว่างการแข่งขันต่าง ๆ เช่น ห้ามโจมตีบริเวณหลังศรีษะหรือท้ายทอย จิ้มตา กัด ข่วน จิก หัวโขก โจมตีใต้เข็มขัด แกล้งเจ็บ ตั้งใจบ้วนฟันยาง เกาะลูกกรง ดึงกางเกง ดึงผม ดึงถุงมือ ถุยน้ำลายใส่ ตำศอกแนวดิ่ง โจมตีลูกกระเดือกหรือคอหอย กระทืบเตะหรือเข่าไปที่บริเวิณศรีษะ เมื่อคู่ต่อสู้นอนอยู่ที่พื้น เตะหรือเข่าเข้าที่ศรีษะ ในขณะที่หัวเข่า หรือมือข้างใดข้างหนึ่ง ของคู่ต่อสู้แตะที่พื้น โจมตีคู่ต่อสู้ขณะพักยก จบยก หรือขณะที่กรรมการบนเวทีหรือแพทย์เข้ามาดูแล mma คืองานอะไร
จากข้อห้ามด้านบน กรรมการผู้ห้ามบนเวทีมีสิทธิ์สั่งเตือน พักการแข่งขันชั่วคราว หรือยุติการแข่งขันได้ ในกรณีพักการแข่งขันชั่วคราวสามารถพักได้สูงสุด 5 นาทีจนกว่านักสู้จะพร้อมสู้ใหม่ และหากครบ 5 นาทีในการพักแล้วยังไม่สามารถสู้ต่อได้ กรรมการสามารถยุติการแข่งขันแล้วตัดสินไม่มีผลแพ้ชนะกัน หรืออาจจะมีการนับคะแนนเพื่อตัดสิน ผลแพ้ชนะ (ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในกรณีที่สู้ถึงยกที่ 3-5)
ในกรณีที่มีแพทย์สนามต้องได้รับความยินยอมจากทางแพทย์ให้สู้ต่อเท่านั้น และหากยังทำผิดกฎกติกาบ่อย ๆ จะถูกตัดแต้มหรืออย่างเลวร้ายที่สุดยุติการแข่งขันโดยปรับแพ้ฟาวล์ไป
กรณีที่นักสู้มีแผลแตกเลือดไหลอาบ กรรมการผู้ห้ามบนเวทีมีสิทธิ์สั่งพักชั่วคราว เพื่อให้แพทย์สนามเข้ามาดูอาการได้ และหากจังหวะก่อนหน้าที่กรรมการจะสั่งพัก ถ้านักกีฬาทั้งสองฝ่ายอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบเสียเปรียบกันอยู่ หลังจากเช็คบาดแผลแล้ว แพทย์อนุญาตให้สู้ต่อได้ ทั้งคู่จะต้องกลับมาเริ่มสู้ในท่าเดิม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นท่านอน
เกณฑ์การให้คะแนนให้อย่างไร?
- กรรมการผู้ให้คะแนนมีทั้งหมด 3 คน โดยเป็นการให้คะแนนแบบยกต่อยก ผู้ชนะในยกนั้นจะได้ 10 คะแนน ผู้แพ้ในยกนั้นจะได้ไป 9 หรือน้อยกว่านั้น
- การให้คะแนนดูจากการออกอาวุธโจมตีคู่ต่อสู้ การทุ่มเทคดาวน์ การจับล๊อค และการควบคุมความได้เปรียบบนเวที
กติกา UFC ผลการแข่งขันมาจากไหน?
การซับมิชชั่น (Submission)
– ชนะโดยการซับมิชชั่น เมื่อคู่ต่อสู้ยอมแพ้โดยการตบไปที่พื้นหรือร่างกายของอีกฝ่าย (Tap Out) หรือการเอ่ยปากขอยอมแพ้ (Verbal Tap)
การน๊อคเอ๊าท์ (Knockout)
– ชนะโดยการ KO หรือน๊อคเอ๊าท์ กรรมการเข้ามายุติการแข่งขันเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ตอบโต้หรือหมดสติจาการโจมตีของอีกฝ่ายหนึ่ง mma fights tonight
การ TKO (Technical Knockout)
– ชนะโดยการ TKO กรรมการเข้ามายุติการแข่งขันเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการโจมตีของอีกฝ่ายได้ หรือนักกีฬามีแผลแตกขนาดใหญ่ รวมถึงการไม่สามารถสู้ต่อได้จากอาการบาดเจ็บร้ายแรงอื่นๆเช่น ขาหัก มือหัก บางกรณีอาจจะให้แพทย์สนามเป็นผูู้ลงมติว่าสู้ต่อได้หรือไม่
การแพ้/ชนะโดยการฟาวล์ (Disqualification)
– เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดกฎกติกาอย่างชัดเจนซึ่งกรรมการผู้ห้ามบนเวทีมีสิทธิ์ชี้ขาดในการลงโทษฝ่ายที่กระทำผิดให้เป็นการปรับผลแพ้ชนะฟาวล์ได้ตามดุลพินิจ
การให้คะแนน
- ชนะคะแนนแบบเอกฉันท์ (Unanimous Decision) กรรมการ 3 คนให้คะแนนผู้ชนะมากกว่าทั้งหมด (3 ต่อ 0 เสียง)
- ชนะคะแนนแบบไม่เอกฉันท์ (Split Decision) กรรมการ 2 คนให้คะแนนผู้ชนะมากกว่า กรรมการอีกคนให้คะแนนผู้แพ้มากกว่า (2 ต่อ 1 เสียง)
- ชนะคะแนนโดยเสียงข้างมาก (Majority Decision) กรรมการ 2 คนให้คะแนนผู้ชนะมากกว่า กรรมการอีกคนให้คะแนนผู้แพ้เท่ากันกับผู้ชนะ
- นอกจากนี้ผลการแข่งขันยังสามารถออกเป็นเสมอกัน (Draw) และไม่มีคำตัดสินแพ้ชนะได้ด้วย (No Contest
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของมวยจาก : UFABET , ดูบอล
อ่านเพิ่มเติม => มวยออนไลน์